ข่าวเกี่ยวกับวิชาภาษาไทย

สังข์ทอง

ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง

อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง

นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย

ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์

วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง(รองเท้าทองนั้นเอง) ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการสวมกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป

เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ก็ไม่ยอม นางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป

พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่ง ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ

ท้าวสามลคิดจะกำจัดเจ้าเงาะทุกวิถีทาง จึงได้ให้เขยทั้งหมดไปจับปลามาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์จึงได้ถอดรูปเงาะออก และท่องมหาจินดามนตร์จนได้ปลามานับร้อย ส่วนหกเขยจับปลาไม่ได้เลยสักตัว จึงเข้ามาขอพระสังข์เพราะคิดว่าเป็นเทวดา พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายจมูกของหกเขยด้วย

ต่อมา ท้าวสามลได้ให้เขยทั้งหมดไปหาเนื้อมาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์ก็ใช้มหาจินดามนตร์จนได้เนื้อมานับร้อย ส่วนหกเขยก็หาไม่ได้อีกตามเคย และได้เข้ามาขอพระสังข์ พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายหูของหกเขยด้วย

ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง อันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามล จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้ พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย

ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่า จึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อน และยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด

หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล และเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมา และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์

ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง

หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวี พระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมล ท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา

พระอภัยมณี

ท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสร ผู้ครองกรุงรัตนา มีพระโอรสสององค์ คือ พระอภัยมณี และศรีสุวรรณ ได้รับสั่งให้โอรสทั้งสองไปเรียนศิลปวิทยา ในที่สุดพระอภัยมณีได้เรียนวิชาปี่ ขณะที่ศรีสุวรรณได้เรียนวิชากระบี่กระบอง เมื่อสำเร็จวิชา ก็ได้กลับคืนพระนคร ทว่าพระบิดาทรงกริ้ว ด้วยพระโอรสไปเรียนวิชาชั้นต่ำ ไม่คู่ควรแก่กษัตริย์ จึงไล่ทั้งสองออกจากพระนคร

ทั้งสองเดินทางมาถึงชายทะเล ได้พบกับสามพราหมณ์คือ โมรา สานนท์ และวิเชียร ได้สมัครเป็นมิตรกัน แล้วพระอภัยมณีเป่าปี่ให้คนทั้งหมดฟัง ทั้งหมดเคลิบเคลิ้มตามเพลงปี่จนหลับไป เพลงปี่ดังไปถึงนางผีเสื้อสมุทรที่อาศัยอยู่ในทะเล เมื่อตามเสียงปี่มาพบพระอภัยมณีก็หลงรัก จึงลักพาตัวพระอภัยมณีไปอยู่กับนางบนเกาะ แล้วจำแลงร่างเป็นหญิงสาวสวยงาม แม้พระอภัยรู้อยู่ว่านั่นคือนางยักษ์ แต่ก็ไม่สามารถหนีไปไหนได้ ทั้งสองอยู่กินกันมาจนนางผีเสื้อให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่ง ชื่อว่า สินสมุทร

ด้านศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์เมื่อตื่นขึ้นมาไม่พบพระอภัยมณีก็เที่ยวค้นหา จนไปถึงเมืองรมจักรพบศึกติดพัน ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ช่วยรบป้องกันเมืองได้ ได้พบนางเกษราธิดาของเจ้าเมือง ต่อมาศรีสุวรรณได้อภิเษกนางเกษรา มีพระธิดาชื่อนางอรุณรัศมี

วันหนึ่งสินสมุทรออกไปเที่ยวเล่นเจอพ่อเงือกแม่เงือก จึงจับตัวมาให้พระอภัยดู พ่อเงือกแม่เงือกวอนขอชีวิตโดยเสนอจะพาพระอภัยหนี พระอภัยจึงออกอุบายให้นางผีเสื้อไปถือศีลบนเขาสามวัน ระหว่างนั้นเขาก็พาสินสมุทรหนี พ่อเงือกแม่เงือกพาพระอภัยและสินสมุทรมาเกือบถึงเกาะแก้วพิสดารแล้ว แต่นางผีเสื้อรู้ตัวติดตามมาทัน จับพ่อเงือกแม่เงือกฆ่าเสีย นางเงือกผู้ลูกพาพระอภัยกับสินสมุทรหนีไปจนถึงเกาะแก้วพิสดารได้สำเร็จ บนเกาะนี้มีพระฤๅษีมีฤทธิ์มาก นางผีเสื้อจึงไม่กล้าทำอะไร ทั้งหมดอาศัยอยู่บนเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยได้นางเงือกเป็นภริยา

ฝ่ายท้าวสิลราชกับพระนางมณฑา ผู้ครองเมืองเมืองผลึก มีพระธิดาองค์เดียวคือ นางสุวรรณมาลี ทรงเป็นคู่หมั้นอยู่กับอุศเรน เจ้าชายเมืองลังกา วันหนึ่งนางสุวรรณมาลีเกิดนิมิตฝัน โหรทำนายว่าต้องออกเที่ยวทะเลจะได้พบลาภ ทั้งหมดจึงเดินเรือเที่ยวท่องไป แต่เกิดพายุใหญ่พัดเรือไปถึงเกาะนาควาริน คำทำนายของปู่เจ้าทำให้ท้าวสิลราชพากองเรือมุ่งหน้าไปยังเกาะแก้วพิสดาร ได้พบพระอภัยมณีและรับพระอภัยมณีกับสินสมุทรขึ้นเรือไปด้วยเพื่ออาศัยกลับบ้านเมือง แต่เมื่อเรือออกจากเกาะ นางผีเสื้อสมุทรก็มาอาละวาดอีกจนเรือแตก ท้าวสิลราชกับบริวารส่วนใหญ่สิ้นชีพ สินสมุทรพานางสุวรรณมาลีหนีไปได้ พระอภัยมณีเป่าปี่สังหารนางยักษ์

ทั้งหมดแตกกระจายพลัดพรายจากกัน พระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากอุศเรน คู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี ที่ออกเรือมาตามหาเพราะหายไปนาน ส่วนสินสมุทรกับนางสุวรรณมาลีได้โจรสุหรั่ง โจรสลัดในน่านน้ำนั้นช่วยไว้ได้ แต่โจรคิดทำร้าย สินสมุทรจึงสังหารโจรแล้วครองเรือมาเอง แล้วได้พบศรีสุวรรณที่ออกล่องเรือเที่ยวตามหาพี่ชาย ทั้งหมดเดินทางไปด้วยกันจนมาพบพระอภัยมณีกับอุศเรน สินสมุทรรักนางสุวรรณมาลีอยากได้เป็นแม่ จึงเกิดวิวาทกับอุศเรน พระอภัยมณีไปเมืองผลึกกับนางสุวรรณมาลีและได้ขึ้นครองเมืองแทนท้าวสิลราช อุศเรนแค้นและกลับเมืองลังกายกทัพมาตีเมืองผลึก แต่แพ้อุบายนางวาลีจนสิ้นชีวิต นางละเวงวัณฬาผู้น้องสาวคิดแก้แค้น จึงใช้รูปของตนทำเสน่ห์ส่งไปหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยกทัพมาตีเมืองผลึก

ด้านเกาะแก้วพิสดาร นางเงือกให้กำเนิดบุตรชื่อ สุดสาคร เป็นเด็กฉลาดแข็งแรง วันหนึ่งสุดสาครจับม้านิลมังกรได้ พระฤๅษีสอนวิชาให้แล้วเล่าเรื่องพระอภัยมณีให้ฟัง สุดสาครออกเดินทางตามหาพระอภัยมณีจนไปถึงเมืองการเวก ระหว่างทางถูกชีเปลือยหลอกขโมยไม้เท้าและม้านิลมังกรไป แต่พระฤๅษีมาช่วยไว้ เมื่อชิงไม้เท้าและม้านิลมังกรคืนมาได้ ก็เข้าเมืองการเวก กษัตริย์เจ้าเมืองรักใคร่เอ็นดูสุดสาคร จึงเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรมอยู่ด้วยกันกับนางเสาวคนธ์และหัสไชยพระธิดาและพระโอรส จนเติบใหญ่ สุดสาครคิดออกตามหาพ่อ เจ้าเมืองการเวกจึงจัดกองเรือให้ โดยมีนางเสาวคนธ์และหัสไชยติดตามไปด้วย ทั้งหมดล่องเรือไปถึงเมืองผลึกขณะถูกทัพลังกาและทัพพันธมิตรล้อมเมือง

พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร และสุดสาคร ช่วยเมืองผลึกรบจนสามารถเอาชนะทัพอื่นๆ ได้ พระอภัยมณีได้รูปวาดนางละเวงที่ลงเสน่ห์ทำให้เมืองต่าง ๆ พากันยกมารบเมืองผลึกตามคำขอนางนาง แล้วเกิดต้องมนต์ของนางละเวงเสียเอง พระอภัยยกทัพตามไปตีเมืองลังกา แต่รบกันเท่าใดก็ไม่แพ้ชนะเสียที ต่อมาพระอภัยมณีลอบติดรถนางละเวงเข้าไปในวัง เมื่อนางละเวงได้พบพระอภัยก็ฆ่าไม่ลง กลับหลงรักจนได้เป็นสามีภรรยากัน ส่วนบริวารอื่นของนางละเวงคือนางยุพาผกา รำภาสะหรี และสุลาลีวัน ใช้เสน่ห์กับฝ่ายพระอภัยมณี ได้แก่ ศรีสุวรรณ สินสมุทร และแม้แต่สุดสาครที่ครองตนเป็นฤๅษีก็ต้องมนต์ไปด้วย จนทั้งหมดหลงมัวเมาติดพันอยู่ในลังกาไม่ยอมกลับเมืองผลึก นางสุวรรณมาลีกับอรุณรัศมีและเสาวคนธ์จึงมาตาม แต่ไม่เป็นผล จนต้องให้หัสไชยช่วยแก้เสน่ห์ให้ลุงและเหล่าพี่ กษัตริย์ทั้งหมดยอมสงบศึกต่อกัน แต่นางเสาวคนธ์แค้นสุดสาครจึงหนีไปเมืองวาหุโลม สุดสาครต้องติดตามไปจนภายหลังจึงได้อภิเษกกัน

ด้านกรุงรัตนา ท้าวสุทัศน์สิ้นพระชนม์ พระอภัยมณีกับเหล่ากษัตริย์จึงเดินทางไปทำศพ มังคลาบุตรของพระอภัยมณีกับนางละเวงได้ครองเมืองลังกา แต่ถูกบาทหลวงยุแหย่จึงแค้นเคืองเหล่ากษัตริย์ จับตัวนางสุวรรณมาลีและพระญาติมาขังไว้ หัสไชยกับสุดสาครยกทัพมาช่วยแต่ไม่สำเร็จ แม้แต่นางละเวงผู้เป็นมารดาเองก็ห้ามปรามไม่ได้ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณยกทัพตามมาจึงเอาชนะศึกได้ จบศึกแล้วพระอภัยมณีอภิเษกโอรสทั้งหลายให้ครองเมืองต่าง ๆ แล้วออกบวชพร้อมกับนางสุวรรณมาลีและนางละเวงก็บวชชีแล้วตามไปปรนนิบัติด้วย ทั้งสามบำเพ็ญศีลอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข

รามเกียรติ์

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้เล่นละคร จึงมิได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงพระราชนิพนธ์เอง บางตอนก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ตรวจชำระและจัดพิมพ์ในงานพระราชกุศลฉลองพระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ และทรงพระราชนิพนธ์คำนำไว้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านไม่เบื่อ เป็นภาษาไทยที่ดี และเป็นหนังสือสำคัญของชาติ

รามเกียรติ์ มีที่มาจากเรื่อง รามยณะ ที่ฤาษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ มาแล้ว และได้แพร่หลาย จากอินเดียไปยังประเทศใกล้เคียง และได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียด ผิดแผกแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเดิมไปไม่น้อย รามยณะเป็นปางหนึ่งในสิบปางของการอวตารมาปราบยุคเข็ญของพระนารายณ์ ที่มีชื่อว่า รามาวตาร

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้เล่นละคร จึงมิได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงพระราชนิพนธ์เอง บางตอนก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ตรวจชำระและจัดพิมพ์ในงานพระราชกุศลฉลองพระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ และทรงพระราชนิพนธ์คำนำไว้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านไม่เบื่อ เป็นภาษาไทยที่ดี และเป็นหนังสือสำคัญของชาติ

จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เพื่อใช้ในการเล่นโขน ซึ่งจะมีอยู่เพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้เท่านั้น เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้างเอราวัณ ตอนสีดาลุยไฟ เป็นต้น รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่สำคัญของไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องและสำนวนกลอน ในเรื่องรามเกียรติ์มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่าง ๆ อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน
ต้นเรื่องรามเกียรติ์
ณ ยอดเขาจักรวาลมียักษ์ตนหนึ่งชื่อ หิรันตยักษ์ ได้บำเพ็ญตบะเพื่อขอพรจากพระอิศวรให้มีฤทธิ์มากขึ้น เมื่อได้พรแล้วจึงคิดกำเริบว่าไม่มีใครสามารถสู้ได้ จึงม้วนแผ่นดินแล้วเหาะนำไปไว้ที่เมืองบาดาล เหล่าเทวดาจึงไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรให้พระนารายณ์ไปปราบ แล้วจึงนำแผ่นดินมาคลี่ไว้ที่เดิม จากนั้นจึงกลับยังเกษียณสมุทร พบดอกบัวบานมีกุมารน้อยอยู่ในนั้น จึงนำไปถวายพระอิศวร พระอิศวรให้พระอินทร์ไปสร้างเมืองให้ที่ป่าทวาราวดี แล้วตั้งชื่อกุมารว่า อโนมาตัน และมอบอาวุธคือ ตรีเพชร คทา และธำมรงค์ ให้ไปปกครองเมืองนั้น ส่วนพระอินทร์ได้มอบนางมณีเกสร เป็นพระมเหสี ต่อมามีโอรสชื่อ อัชบาล และต่อมาท้าวอัชบาลกับนางเทพอัปสรมีโอรสชื่อ ทศรถ

ฝ่ายพระพรหมองค์หนึ่งชื่อสหบดี ซึ่งเคยให้สหมลิวัน ไปปกครองทวีปลังกาแต่ได้หนีพระนารายณ์ ไปอยู่เมืองบาดาล ทวีปลังกาจึงกลายเป็นเมืองร้าง สหบดีเห็นว่าควรมีการสืบวงศ์พรหมต่อไป จึงสั่งให้พระวิษณุพรหม ไปดูทำเลสร้างเมืองใหม่ พระวิษณุพบเกาะกลางทวีปมีภูเขาสูงชื่อ นิลกาฬ สีดำสนิทตั้งอยู่กลางเกาะเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะจะสร้างเมืองที่มีความมั่นคง ป้องกันการรุกรานของข้าศึกได้ จึงสร้างเมืองขึ้นตรงเกาะนั้น แล้วตั้งชื่อว่าพิชัยลังกา ท้าวสหบดีได้ให้ญาติชื่อท้าวจตุรพักรไปครอง มอบอาวุธคือ ตรีศูล คทา ฉัตรแก้ว พร้อมพระเวทกำกับฉัตร หากเมื่อข้าศึกมาประชิดเมือง ให้ยกฉัตรขึ้นบังแสงอาทิตย์ ข้าศึกจะมองไม่เห็นเมือง ทั้งยังประทานนางมลิกาไปเป็นมเหสี

ต่อมามีโอรสชื่อท้าวลัสเตียน ซึ่งมีมเหสี 5 องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระนางรัชดาเทวี ซึ่งเป็นแม่ของทศกรรฐ์ มียักษ์ชื่ออสุรพรหมอยู่เชิงเขาจักรวาลต้องการมีฤทธิ์มากขึ้นเพียรทูลขอกระบองที่ไม่มีใครสู้ได้จากพระอิศวร จนพระอิศวรประทานกระบองเพชร ให้ มาลีวัคคพรหม จึงทูลทักท้วงว่า การที่ทรงประทานกระบองเพชรให้นั้น จะทำให้โลกเดือดร้อนได้ เพราะอสุรพรหมเป็นยักษ์ที่หยาบช้า ควรจะประทานอาวุธแก่ท้าวอัชบาล เพื่อใช้ปราบอสุรพรหม พระอิศวรจึงประทานพระขรรค์และพรแก่ท้าวอัชบาล ซึ่งภายหลังได้ฆ่าอสุรพรหมตาย ด้วยเหตุนี้มาลีวัคคพรหม จึงเป็นเพื่อนกับท้าวอัชบาลในเวลาต่อมา ต่อมา มาลีวัคคพรหมเสด็จไปเฝ้าพระอิศวรทูลลาไปอยู่ ณ เขายอดฟ้า พระอิศวรเห็นว่าเป็นพรหมที่มีความซื่อสัตย์ จึงประทานพรให้มีวาจาสิทธิ์ ทั้งได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่าท้าวมาลีวราช ปกครองเหล่าคนธรรพ์และยักษ์

มียักษ์อีกตนหนึ่งชื่อ ตรีบุรัม ครองเมืองโสพัส ต้องการมีฤทธิ์เอาชนะพระนารายณ์ได้ จึงบำเพ็ญตบะเพื่อขอพรจากพระอิศวร จนพระอิศวรต้องเสด็จลงมาให้พรตามที่ขอว่า พระนารายณ์ไม่สามารถฆ่าตรีบุรัมได้ เมื่อได้พรแล้วจึงกำเริบไปข่มเหงเหล่าเทวดาและนางฟ้าจนถึงสวรรค์ชั้นที่หกเดือดร้อนไปทั่ว จึงพากันมาฟ้องพระอิศวร เนื่องจากศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง ด้วยตรีบุรัมได้พรจากพระอิศวร ทั้งพระพรหมและพระนารายณ์ไม่อาจปราบได้ พระอิศวรจึงต้องยกทัพไปปราบเอง ในกระบวนทัพของพระอิศวร ให้พระขันธกุมารเป็นทัพหน้า พระราหูถือธง พระพิเนตรเป็นปีกซ้าย พระพินายะเป็นปีกขวา พระกาฬเป็นเกียกกาย ท้าวเวสสุวรรณเป็นยกกระบัตร และพระเพลิงเป็นกองหลัง ส่วนพระอิศวรนั่งบนหลังพระโคอุสุภราช เอากำลังพระพรหมผสมกับพระเดชเป็นเกราะเพชร เขาพระสุเมรุเป็นคันธนูชื่อ มหาโลหะโมลี เอาอนันตนาคราชเป็นสายธนู พระนารายณ์เป็นลูกศร แต่ไม่สามารถยิงได้เพราะพรจากพระอิศวรดังกล่าว พระอิศวรจึงลืมตาที่สามขึ้นเป็นเพลิงกรดไหม้ตรีบุรัมตาย จากนั้นจึงมอบธนูโลหะโมลีไว้ที่เมืองมิถิลาและฝากเกราะเพชร ไว้ที่พระฤาษีอัคถะดาบส เพื่อเก็บไว้ถวายพระนารายณ์ตอนอวตารมาปราบเหล่ายักษ์
กำเนิดทศกรรฐ์
มียักษ์อีกตนหนึ่งชื่อ นนทก มีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาที่มาเฝ้าพระอิศวร ณ เชิงเขาไกรลาสถูกเหล่าเทวดาลูบหัวทุกวันจนหัวล้าน มีความเสียใจและแค้นใจ จึงไปเฝ้าพระอิศวรทูลขอนิ้วเพชร ชี้ไปที่ใครต้องตาย เมื่อพระอิศวรให้พรแล้ว จึงกลับไปล้างเท้าเทวดาตามเดิม เมื่อถูกเหล่าเทวดาลูบหัวอีก จึงเอานิ้วเพชรชี้เทวดาล้มตายไปเป็นอันมาก เหล่าเทวดาจึงไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์ได้แปลงกายเป็นนางอัปสรไปร่ายรำยั่วยวนจนนนทกหลงกลรำตาม เอานิ้วเพชรชี้ไปที่ต้นขาตนเองล้มลง พระนารายณ์จึงกลับร่างเดิมเหยียบอกนนทกไว้ นนทกจึงว่าพระนารายณ์กลัวตนจึงต้องแปลงร่างมา พระนารายณ์จึงสาปให้นนทกไปเกิดใหม่ มีสิบหัวสิบหน้าและยี่สิบมือ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีคทาและธนูเป็นอาวุธ ส่วนพระองค์จะเกิดเป็นมนุษย์มี 2 มือ ตามไปฆ่า แล้วจึงฆ่านนทกตาย

เมื่อนนทกตายแล้วจึงไปเกิดเป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและ พระนางรัชดาเทวี ชื่อว่าทศกรรฐ์ แปลว่าผู้มีสิบหู มีน้องชาย 2 คน ชื่อ พิเภกและกุมภกรรณ และมีน้องสาวชื่อนางสำมนักขา ต่อมาทศกรรฐ์ได้ไปศึกษาพระเวทย์กับฤาษีโคบุตร

กำเนิดพิเภก

ฝ่ายพระอิศวร เมื่อรู้ว่านนทกไปเกิดเป็นทศกรรฐ์ที่กรุงลงกา เป็นยักษ์ที่ร้ายกาจและมีฤทธิ์มาก และเห็นว่าแม้พระนารายณ์จะอวตารไปปราบ ก็เห็นจะยาก จึงสั่งให้เวศญาณเทพบุตร ลงไปเกิดเป็นโอรสท้าวลัสเตียนกับพระนางรัชดาเทวี โดยประทานแว่นวิเศษใช้เรียนวิชาโหราศาสตร์ เพื่อเป็นไส้ศึกให้กับพระนารายณ์ และได้ชื่อว่าพิเภก

กำเนิดพาลี สุครีพ

ฤาษีโคดม เดิมเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาเกต ไม่มีโอรสธิดา ได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญตบะในป่าถึงสองพันปี จนหนวดเครายาวรุงรัง จนมีนกกระจาบมาทำรัง นกกระจาบได้พูดว่า พระฤาษีโคดมเป็นคนบาป ด้วยเป็นกษัตริย์ก็ไม่มีบุตรธิดา ยังหนีมาออกบวชจนทำให้เสียวงศ์กษัตริย์ พระฤาษีได้ฟังจึงคิดได้ จึงบำเพ็ญตบะตั้งพิธีขอผู้หญิงขึ้น คือนางกาลอจนา และอยู่กินกันจนมีธิดาคือนางสวาหะ ต่อมาพระอินทร์ และพระอาทิตย์ต้องการจะแบ่งฤทธิ์ไปช่วยพระนารายณ์ปราบยักษ์ จึงไปทำให้นางตั้งครรภ์และคลอดโอรส ออกมาเป็นพระยากากาศและสุครีพ ต่อมานางสวาหะ จึงเล่าเรื่องให้พระฤาษีฟัง พระฤาษีจึงอธิษฐานว่า จะปล่อยลูกลงน้ำ ถ้าใครเป็นลูกให้ว่ายน้ำกลับมาหาตน ถ้าไม่ใช่ให้กลายเป็นลิงเข้าป่าไป หลังจากปล่อยลูกทั้ง 3 ลงน้ำ คงมีแต่นางสวาหะคนเดียวว่ายกลับมา ส่วนพระยากากาศและ สุครีพกลายเป็นลิงเข้าป่าไป พระฤาษีโกรธมากจึงกลับมาสาปนางกาลอัจนาเป็นหิน นางกาลอัจนาจึงสาปนางสวาหะ ให้ยืนขาเดียวกินลมอยู่ในป่าเชิงเขาจักรวาล จะพ้นคำสาปเมื่อมีลูกเป็นลิงมีฤทธิ์เลิศกว่าลิงอื่น ๆ
กำเนิดนิลพัท หนุมาน
ฝ่ายพระอินทร์และพระอาทิตย์ สงสารลูกจึงไปสร้างเมืองขึ้น แล้วตั้งชื่อว่า เมืองขีดขิน แล้วให้พระยากากาศเป็นเจ้าเมือง สุครีพเป็นมหาอุปราช แล้วสอนพระเวทย์ให้ด้วย ด้านเมืองชมพูนั้นมีท้าวมหาชมพูเป็นเจ้าเมือง มีมเหสีชื่อนางแก้วอุดร เป็นเพื่อนสนิทของพระยากากาศ ไม่มีโอรสธิดา พระอิศวรจึงประทานลูกพระกาฬชื่อ นิลพัท ให้เป็นหลาน

เมื่อหนุมานเกิด นางสวาหะจึงพ้นคำสาปและบอกว่าถ้าผู้ใดมาทักเกี่ยวกับกุณฑลขนเพชรในตัว คนนั้นคือพระนารายณ์ ให้เข้าสวามิภักดิ์แก่ผู้นั้น จากนั้นหนุมานได้ลาพระพายและพระมารดาไป ต่อมาพระพายได้พาหนุมานไปเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรจึงให้คาถามหามนต์ แปลงกาย หายตัว นะจังงัง ร่างกายคงทนต่ออาวุธ อายุยืน และหากถูกฆ่าตาย เมื่อถูกลมพัดก็จะฟื้น ต่อมาพระอิศวรจึงให้หนุมานและโอรสชื่อชมพูพาน ซึ่งเกิดจากเหงื่อไคลของพระองค์ ไปอยู่กับพระยากากาศ และสุครีพ ที่เมืองขีดขิน เมื่อถึงฤดูฝน เหล่าเทวดาจะมาร่ายรำเล่นฝน พระอรชุนก็มาร่วมด้วย นางมณีเมขลาที่มีหน้าที่เฝ้า พระสมุทร ก็นำแก้วมณีไปร่ายรำด้วย รามสูรเห็นเข้าจึงเข้าแย่ง เมื่อไม่ได้จึงโกรธ ขณะนั้นพระอรชุนเหาะผ่านมา รามสูร จึงเข้าไปทำร้ายจนถึงต่อสู้กัน พระอรชุนถูกรามสูรจับขาฟาดเข้ากับเขาพระสุเมรุ จนเขาทรุดลง พระอิศวรจึงให้นำพระยานาคพันยอดเขา และให้เหล่าเทวดา คนธรรพ์ นาค ครุฑ พระยากากาศ สุครีพ ช่วยกันดึงแต่ไม่สำเร็จ สุครีพจึงจี้สะดือของพระยานาค พระยานาคบิดตัวอย่างแรง ทำให้ฉุดเขาพระสุเมรุให้ตั้งตรงได้ ต่อมาเมื่อพระยากากาศขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรจึงตั้งชื่อพระยากากาศว่า พระยาพาลี พร้อมกับให้พรว่า ผู้ใดมาต่อสู้ด้วยให้กำลังลดลงครึ่งหนึ่งและประทานตรีเพชรให้ด้วย จากนั้นก็ฝากผอบใส่นางดาราให้สุครีพ จากความดีความชอบที่ใช้ปัญหาทำให้เขาพระสุเมรุตั้งตรงได้ พระนารายณ์ได้ค้านว่าไม่ควรฝากไป พระยาพาลีก็ถวายสัตย์ว่าจะไม่เปิดผอบ หากเสียสัตย์ก็ขอให้ตายด้วยศรของพระราม เมื่อกลับถึงเมืองก็เปิดผอบดูพบนางดารา จึงได้เป็นเมีย

กำเนิดนางมณโฑ

ที่ภูเขาหิมพานต์มีฤาษี 4 องค์ บวชมาได้สามหมื่นปีแล้ว ในเวลาเช้าจะมีโคนมมาที่บรรณศาลา แล้วหยอดนมไว้ในอ่างให้ฤาษีดื่มกินทุกวัน ที่หินซึ่งเป็นที่ฉันอาหาร มีกบตัวเมียอาศัยอยู่ และพระฤาษีจะให้กบเป็นทานทุกวัน วันหนึ่งมีนางนาคขึ้นมาจากบาดาลมาหาชายเป็นสามี บังเอิญพบงูดิน จึงร่วมรักกัน พระฤาษีมาเห็นเข้านางนาคอายแทรกบาดาลหายไป และคิดว่าถ้าเรื่องนี้รู้ถึงหูบิดาจะอับอายได้ จึงขึ้นไปคายพิษไว้ในอ่างนม กบได้แสดงความกตัญญูด้วยการลงไปในอ่างนมและขาดใจตาย พระฤาษีมาพบเข้าจึงชุบกบ แล้วถามความกบเล่าให้ฟัง พระฤาษีเห็นความดีของกบ ชุบนางเป็นมนุษย์ ตั้งชื่อตามสัญชาติเดิมว่า นางมณโฑ

แล้วพานางไปถวายพระอิศวร พระอิศวรจึงให้เป็นนางกำนัลของพระอุมา ซึ่งพระอุมาได้สอนพระเวทย์ต่าง ๆ ให้แก่นางมากมาย ทางด้านเมืองบาดาล พระยากาลนาคเห็นว่าท้าวสหมลิวันมาอยู่จะทำให้เดือดร้อนไปทั่ว เพราะเป็นยักษ์พาล จึงควรจะปราบเสียแต่แรกท้าวสหมลิวันจึงไปขอความช่วยเหลือจากท้าวลัสเตียนผู้เป็นหลาน พระยากาลนาครบพ่ายแพ้ท้าวลัสเตียน จึงถวายราชธิดาชื่อ นางอัคคี และท้าวลัสเตียนจะรับไว้ให้เป็นชายาทศกรรฐ์ราชโอรสต่อไป

ยักษ์วิรุฬหกซึ่งอาศัยอยู่นครบาดาล ใต้เขาตรีกูฎ ขึ้นไปเฝ้าพระอิศวรปีละเจ็ดครั้ง วันหนึ่งได้ขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรกำลังบรรทมหลับ วิรุฬหกคิดว่าพระอิศวรอยู่ที่ท่ามกลางอสูรและเทพดา จึงกราบทุกคั่นปันไดที่ขึ้น สรภูตุ๊กแกที่เกาะอยู่บนยอดเขา เห็นเข้าก็ขบขัน วิรุฬหกโกรธถอดสังวาลย์นาคขว้างไปถูกเขาไกรลาส จนถึงกับทรุดเอียง พระอิศวรตกพระทัยตื่น แล้วจึงตรัสหาผู้อาสา ยกเขาไกรลาส เหล่าเทวดาได้ช่วยกันยก แต่ไม่สำเร็จ

พระอิศวรจึงให้ไปตามทศกรรฐ์มายกเขาไกรลาสจนตั้งตรงได้ ทศกรรฐ์คิดกำเริบขอประทานพระอุมา พระอิศวรยกให้ ทศกรรฐ์จึงเข้าไปจะอุ้ม แต่กายของพระอุมาร้อนแรงมาก ทศกรรฐ์อุ้มไม่ได้ ได้แต่อุ้มพระบาทวางไว้เหนือหัวพาเหาะไป

พระนารายณ์ทราบเรื่อง จึงแปลงเป็นชายแก่ ไปดักทางที่ทศกรรฐ์จะผ่านไปและบอกว่ายังมีนางมณโฑซึ่งสวยงาม และเหมาะกับทศกรรฐ์มากกว่า ทศกรรฐ์เชื่อจึงนำพระอุมาไปคืนพระอิศวร แล้วทูลขอนางมณโฑ พระอิศวรก็ประทานให้ ทศกรรฐ์จึงอุ้มนางมณโฑเหาะผ่านนครขีดขิน เพื่อกลับไปยังลงกา พระยาพาลีโกรธหาว่าทศกรรฐ์หมิ่นตน จึงเหาะขึ้นมาจะทำร้ายทศกรรฐ์ เมื่อเห็นนางมณโฑจึงหลงรัก แล้วเข้าสู้รบแย่งชิงจนชนะทศกรรฐ์ ได้นางมา พากลับไปยังนครขีดขิน ได้นางมณโฑเป็นเมีย
รองรับ จึงจะไม่กลายเป็นไฟบรรลัยกัลปไหม้โลก ส่วนพระนารายณ์ให้ศรวิษณุปาณัม ทศกรรฐ์เมื่อเห็นรณพักตร์มีฤทธิ์มากขึ้น นับจากได้ศรจากพระอิศวร พระพรหมและพระนารายณ์ จึงให้รณพักตร์ยกทัพไปปราบพระอินทร์ ได้สู้รบกันที่กลางเขาพระสุเมรุ พระอินทร์สู้ไม่ได้ทิ้งจักรแก้วไว้ แล้วหนีไปฟ้องพระอิศวร ส่วนรณพักตร์ได้จักรแก้วของพระอินทร์ จึงกลับมายังเมือง ทศกรรฐ์จึงตั้งชื่อรณพักตร์ใหม่ว่า อินทรชิต ซึ่งแปลว่าสามารถปราบพระอินทร์ได้

กำเนิดทรพา ทรพี

มียักษ์ตนหนึ่งชื่อนนทกาลอสูร เป็นผู้เฝ้าประตูกำแพงชั้นในเขาไกรลาสของพระอิศวร ได้ล่วงเกินนางมาลีซึ่งเป็นคนร้อยดอกไม้ นางจึงไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรโกรธสาปให้นนทกาลไปเกิดเป็นควายป่าชื่อ ทรพา และเมื่อถูกฆ่าโดยลูกชายชื่อทรพี จึงจะพ้นคำสาป เมื่อทรพาเข้ามาอยู่ในป่าได้นางควายเป็นเมียมากมาย เมื่อนางควายตัวใดมีลูกตัวผู้ก็จะถูกฆ่าตายหมด นางควายนิลาจึงหนีไปออกลูกในถ้ำสุรกานต์เป็นตัวผู้ ฝากเทวดาให้เลี้ยงดู เทวดาได้ตั้งชื่อ ลูกควายนี้ว่าทรพี

ฝ่ายท้าวศากยวงศาเจ้าเมืองบาดาลได้ตายลง ไมยราพได้ขึ้นครองเมือง คิดถึงเรื่องที่บิดาสั่งไว้มิให้คบหากับทศกรรฐ์ แต่เนื่องด้วยทศกรรฐ์เป็นยักษ์พาล วันหน้าอาจรุกรานได้ จำเป็นต้องเรียนพระเวทให้มากขึ้น จึงขึ้นจากบาดาล มาศึกษาพระเวท ด้านการสะกดทัพ หายตัว คงกระพันชาตรีกับพระสุเมธฤาษี ที่ป่าหิมพานต์ พระฤาษีได้ทำพิธีถอดดวงใจให้ไมยราพและให้ไปเก็บไว้ที่เขาตรีกูฎ ส่วนทางเมืองมนุษย์นั้นมีกรุงไกยเกษ ท้าวไกยเกษปกครองมีมเหสีชื่อ ประไพวดี ต่อมามีธิดาชื่อ นางไกยเกษี ท้าวไกยเกษเห็นว่า ท้าวอัชบาลเป็นวงศ์พระนารายณ์และมีความสามารถ ทั้งมีโอรสชื่อท้าวทศรถ จึงถวายนางไกยเกษีให้ ต่อมาท้าวอัชบาลได้ให้ท้าวทศรถขึ้นครองราชย์ และประทานนางไกยเกษี เป็นพระมเหสี

ด้านเมืองโรมพัตตัน มีท้าวโรมพัตเจ้าเมืองโรมพัตตัน เมืองนี้ฝนไม่ตกมาเป็นเวลาสามปี เกิดทุพภิกขภัย จึงให้จัดพิธีขอฝน แต่ไม่เป็นผล ต่อมาทราบว่าเพราะมีฤาษีตนหนึ่งชื่อกไลโกฎ บำเพ็ญตบะญาณแก่กล้าจนเกิดฝนแล้งขึ้น ท้าวโรมพัตจึงให้ธิดาชื่อนางอรุณวดี ไปทำลายพิธี โดยยอมเป็นเมียฤาษี
นารายณ์อวตาร
ฝ่ายท้าวทศรถนั้น มีเพื่อนเป็นพญานกชื่อสดายุ พระองค์ไม่มีโอรสธิดาเห็นว่าจะไม่มีใครสืบราชสมบัติ จึงทำพิธีขอโอรสที่มีฤทธิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงไปนิมนต์ฤาษีกไลโกฎ ฤาษีกไลโกฎได้พาฤาษีอีก 4 องค์ ขึ้นไปเฝ้าพระอิศวรแล้วทูลว่า โลกมีความเดือดร้อนเพราะพระอิศวรและพระนารายณ์ได้ประทานศรแก่ยักษ์ คงมีแต่ท้าวทศรถเท่านั้นที่จะช่วยเหลือโลกได้ แต่พระองค์ไม่มีโอรส จึงควรให้พระนารายณ์อวตารไปปราบเหล่ายักษ์นั้น

พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์อวตารไปเกิดเป็นโอรสท้าวทศรถ ชื่อ พระราม จักรเป็นพระพรต สังข์และบัลลังก์นาคราชเป็นพระลักษณ์ และคทาเป็นพระสัตรุต รวมทั้งให้พระลักษมีเป็นนางสีดา เกิดเป็นธิดาทศกรรฐ์และพระนางมณโฑ

กำเนิดทหารพระราม

ส่วนเหล่าเทวดาทั้งปวงได้พากันตามเสด็จไปช่วยพระนารายณ์ ปราบเหล่ายักษ์ด้วย พระอิศวรจึงให้พรว่า หากถูกพวกยักษ์ฆ่าตาย เมื่อลมพัดถูกตัวก็ให้ฟื้นขึ้นดังเดิม เหล่าเทพยดารับพรแล้วจึงจุติมาเป็นวานรในโลกมนุษย์ แล้วพระอิศวรจึงให้ฤาษีไปบอกกับท้าวทศรถ ให้ทำพิธีขอโอรส พระฤาษีได้ทำตามคำสั่ง ท้าวทศรถจึงตั้งพิธี ปรากฎรูปอสูรทูนถาดข้าวทิพย์ กลิ่นข้าวทิพย์โชยไปถึงกรุงลงกา พระนางมณโฑต้องการเสวยข้าวทิพย์มาก ทศกรรฐ์จึงให้นางกากนาสูร มาเอาข้าวทิพย์ นางกากนาสูรแปลงเป็นอีกามาโฉบเอาข้าวไปได้ครึ่งปั้น แล้วนำไปให้นางมณโฑ ส่วนที่เหลือสามปั้นครึ่งนั้น ส่วนนางไกยเกษีกับนางเกาสุริยา ได้คนละหนึ่งปั้น นางสมุทรเทวีได้ปั้นครึ่ง

กำเนิดนางสีดา

ต่อมาทุกนางได้ทรงครรภ์ นางเกาสุริยาประสูติโอรสเป็นพระราม นางไกยเกษีประสูติโอรสเป็นพระพรต นางสมุทรเทวีประสูติโอรสมาเป็นพระลักษณ์และพระสัตรุต พระนางมณโฑประสูติธิดามาเป็นนางสีดา เมื่อนางสีดาเกิดนั้นได้ร้องว่า ผลาญราพณ์ ถึงสามครั้ง ทุกคนได้ยินยกเว้นทศกรรฐ์และนางมณโฑ ทศกรรฐ์ดีใจมากที่ได้ธิดาและได้ให้พิเภกมาทำนายดวงชะตา พิเภกทำนายว่าดวงชะตานางสีดาเป็นกาลกิณี ควรจะเอาไปทิ้งน้ำ ทศกรรฐ์จึงให้เอาไปใส่ผอบทิ้งกลางทะเล แต่มีดอกบัวใหญ่ขึ้นมารองรับไว้ แล้วลอยทวนน้ำไปถึงอาศรมพระชนก ผู้ซึ่งเดิมเป็นกษัตริย์ครองเมืองมิถิลา พระฤาษีจึงนำไปเลี้ยงดู ต่อมาเห็นว่าตนออกบวชเพื่อสำเร็จญาณโลกีย์ แต่การที่มาเลี้ยงนางสีดาทำให้ไม่สำเร็จ จึงนำผอบที่ใส่นางสีดาไปฝังใต้ต้นไทรใหญ่ ให้อยู่ในอารักขาของเหล่าเทวดา ส่วนที่กรุงศรีอยุธยา วันหนึ่งพระราม พระลักษณ์ พระพรต และพระสัตรุต ลองศรกัน พระรามแกล้งยิง หลังนางค่อมกุจจี นางค่อมได้รับความอับอายและเจ็บแค้นจึงอาฆาตพระรามตั้งแต่นั้น เมื่อพระโอรสเจริญวัย ท้าวทศรถจึงให้โอรส ไปศึกษาพระเวทกับฤาษีสององค์ชื่อ ฤาษีวสิษฐ์และฤาษีสวามิตร จนเรียนศิลปศาสตร์ได้อย่างชำนาญ และเห็นว่าจากนี้เหล่ายักษ์จะต้องตายด้วยศรพระราม แต่พระรามไม่มีศรประจำตัว จึงตั้งพิธีขอศร พระอิศวรได้ประทานศรให้องค์ละสามเล่ม แต่ละเล่มมีฤทธิ์ต่างกัน สำหรับศรของพระรามคือ ศรพรหมมาสตร์ ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เมื่อกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา จึงลองศรให้ท้าวทศรถชมเป็นที่ชื่นชมโสมนัส ทางด้านท้าวไกยเกษ เห็นว่าตนนั้นชรามากแล้ว จึงไปขอลูกของพระนางไกยเกษีมาเลี้ยงดู หากในวันข้างหน้ามีศัตรูมารุกรานจะได้เป็นกำลังต่อสู้ได้ ท้าวทศรถจึงให้พระพรตกับพระสัตรุตไป

นับตั้งแต่ทศกรรฐ์ถอดดวงใจแล้วก็มีความกำเริบมากขึ้น และยังเห็นว่าเหล่านักพรตมีฤทธิ์มาก ซึ่งในกาลข้างหน้า การบำเพ็ญตบะของฤาษีนั้น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเหล่ายักษ์ได้ จึงให้นางกากนาสูรและไพร่พลยักษ์แปลงเป็นกา ไปทำลายพิธีบำเพ็ญตบะ พวกฤาษีสู้ไม่ได้ จึงไปเฝ้าท้าวทศรถ ขอให้พระราม พระลักษณ์ ไปช่วยปราบ พระราม พระลักษณ์ ได้แผลงศรถูกนางกากนาสูรตาย สวาหุและม้ารีสลูกของนางกากนาสูร ทั้งสองจึงมาแก้แค้นแทนมารดา พระรามจึงแผลงศรถูกสวาหุตาย ส่วนม้ารีสหนีไปกรุงลงกา

ฝ่ายพระชนกหลังจากได้ฝังผอบนางสีดาไว้โคนต้นไทรแล้วไปบำเพ็ญเพียรต่อ แต่ไม่สำเร็จญาณสมาบัติ เกิดความเบื่อหน่ายจะกลับไปครองเมืองมิถิลาตามเดิม จึงไปขุดเอาผอบนางสีดาขึ้นมาภายในมีนางอายุประมาณ สิบหกปี จึงได้พาเข้าเมือง และตั้งชื่อว่า นางสีดา
พิธียกศร
ต่อมาเห็นว่านางสีดามีอายุสมควรจะมีคู่ครองได้ จึงตั้งพิธียกศรมหาธนูโมลี ซึ่งเป็นศรที่พระอิศวรใช้ฆ่าตรีบุรัมตาย ฤาษีวิสิษฐ์และฤาษีสวามิตร จึงพาพระรามและพระลักษณ์ไปยกศร โดยพระอินทร์ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน แต่ไม่มีกษัตริย์องค์ใดยกศรได้ นอกจากพระราม แล้วพระรามพานางสีดา กลับมายังกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายรามสูรตั้งแต่จับพระอรชุนฟาดกับเขาพระสุเมรุ สิ้นชีวิตแล้ว ก็ออกเที่ยวข่มเหงผู้อื่นไปเรื่อย ๆ จนมาพบกับทัพพระรามและนางสีดา เมื่อเห็นนางสีดา จึงคิดจะแย่งนางมาและได้ต่อสู้กับพระราม ระหว่างการต่อสู้เห็นพระราม เป็นพระนารายณ์ จึงขอโทษพระราม ส่วนทรพีนั้นเมื่อเติบใหญ่ขึ้น จึงพยามยามวัดรอยตีนของพ่อ เมื่อเห็นว่าเท่ากับของทรพาผู้เป็นพ่อแล้ว จึงมาท้าต่อสู้กับทรพาและฆ่าทรพาตาย

พาลีฆ่าทรพี

ทรพีเมื่อฆ่าทรพาตายแล้ว จากนั้นก็ไปท้าทายบรรดาเทวดาไปเรื่อย ๆ เทวดาจึงหลอกให้ไปท้าพระอิศวรที่เขาไกรลาส พระอิศวรโกรธ จึงให้ไปต่อสู้กับพระยาพาลีและสาปให้ตายด้วยฤทธิ์ของพระยาพาลี แล้วไปเกิดเป็นลูกพระยาขร ชื่อ มังกรกรรฐ์ และให้ตายด้วยศรพระราม ทรพีแม้จะถูกสาปแล้วก็ยังไม่สำนึกตัว ไปท้าทายพระยาพาลีที่เมืองขีดขิน

ทั้งสองจึงต่อสู้กัน พระยาพาลีได้ลวงให้ทรพีไปสู้กันในถ้ำ และได้สั่งสุครีพว่าเมื่อครบเจ็ดวันแล้วยังไม่กลับออกมา ให้เฝ้าดูรอยเลือด ถ้าเป็นเลือดข้นจะเป็นเลือดควาย ถ้าเห็นเลือดใสจะเป็นเลือดตน จงรีบพาไพร่พลขนหินมาปิดถ้ำเสีย ต่อมาพระยาพาลีได้ฆ่าทรพีตาย เทวดายินดีบันดาลให้ฝนตก เลือดที่ไหลออกมาจึงใส สุครีพเห็นเข้าคิดว่าเป็นเลือดพระยาพาลี จึงสั่งให้ไพร่พลเอาหินมาปิดถ้ำ ฝ่ายพระยาพาลีเมื่อฆ่าทรพีตายแล้ว จะออกจากถ้ำพบถ้ำปิดก็โกรธหาว่าสุครีพคิดจะแย่งชิงเมือง จึงไล่สุครีพออกจากเมืองไป ฝ่ายทรพีเมื่อตายไปแล้ว ได้มาเกิดเป็นบุตรของพระยาขร น้องชายของทศกรรฐ์ซึ่งครองเมืองโรมคัล กับพระนางรัชฎาสูรชื่อว่า มังกรกรรฐ์ ตามคำสาปของพระอิศวร

พระรามออกบวช

ต่อมาท้าวทศรถมอบราชสมบัติให้พระราม นางค่อมกุจจีคิดแก้แค้นไม่ให้พระรามได้ครองเมือง จึงยุยง พระนางไกยเกษี ให้กำจัดพระราม และให้พระพรตบุตรของนางครองเมืองแทน พระนางไกยเกษีจึงไปทวงสัญญาจากท้าวทศรถ ที่ประทานให้จากความดีความชอบของนาง คราวที่ท้าวทศรถสู้กับยักษ์ปทูตทันต์ เมื่อท้าวทศรถรับปาก นางจึงขอให้ยกราชสมบัติให้พระพรต แล้วให้พระรามออกบวชเป็นฤาษีเป็นเวลาสิบสี่ปี ท้าวทศรถจำเป็นต้องยอม แล้วพระนางไกยเกษีจึงให้นำเครื่องบวชไปให้พระราม ส่วนนางสีดาและพระลักษณ์ เมื่อเห็นพระรามออกบวช จึงติดตามไปด้วย ทั้งสามองค์ได้หนีออกไปจากวังในตอนกลางคืน ไปยังเขาสัตตกูฎ ท้าวทศรถเมื่อทราบเรื่องก็ตรอมใจตาย ฝ่ายพระพรตกับพระสัตรุต เดินทัพกลับมา เพื่อแสดงความยินดีกับพระรามที่จะขึ้นครองเมือง เมื่อถึงเมือง รู้ว่าท้าวทศรถสิ้นพระชนม์ เพราะพระนางไกยเกษีก็โกรธ พระพรตจะไปฆ่าพระมารดา แต่พระสัตรุตห้ามไว้ ทั้งพระพรตและพระสัตรุต จึงออกบวชแล้วติดตามพระราม พร้อมกับพระนางเกาสุริยา พระนางไกยเกษี พระนางสมุทรเทวี เพื่อไปรับพระรามกลับมาครองเมือง แต่พระรามได้รับปากกับท้าวทศรถแล้วจึงไม่ยอมกลับ พระพรต กับพระสัตรุต จึงทูลว่าถ้าสิบสี่ปีแล้ว พระรามไม่กลับจะยอมตาย พระพรตได้สร้างเมืองประจันตคามที่ชายแดนอยุธยา แล้วพระองค์ประทับรออยู่ที่นั่น ส่วนพระสัตรุต ได้ให้ไปครองกรุงศรีอยุธยา
เริ่มศึกทศกรรฐ์
วันหนึ่งทศกรรฐ์จะไปเที่ยวป่าเจ็ดวัน จึงให้ชิวหาผู้เป็นน้องเขยเฝ้าเมืองไว้ ชิวหาจึงเนรมิตตัวเท่าบรมพรหม แลบลิ้นปิดกรุงลงกาไว้ ทศกรรฐ์กลับมาเห็นกรุงลงกามืดทึบ คิดว่าข้าศึกมาฆ่าชิวหาตายแล้วยึดเมืองได้ จึงขว้างจักรตัดลิ้นชิวหาขาดตายโดยไม่ได้ตั้งใจ นางสำมนักขาเสียใจมากและต้องอยู่คนเดียวตลอดมา จึงคิดหาคู่เดินทางเข้าป่าไป

นางสำมนักขาพบพระรามก็นึกรัก จึงแปลงกายเป็นหญิงสาวขอเป็นเมียพระราม พระรามไม่ยอม นางสำมนักขาเห็นนางสีดา รู้ว่าที่พระรามไม่รักตนเป็นเพราะนางสีดาจึงเข้าทุบตี พระลักษณ์โกรธจึงตัดมือ ตัดเท้า จมูก และหู ของนางสำมนักขา นางจึงไปฟ้องพระยาขร พระยาขรออกมาต่อสู้กับพระราม ต้องศรพรหมาสตร์ตาย ไพร่พลยักษ์จึงไปฟ้องพระยาทูษณ์ พระยาทูษณ์ออกมาต่อสู้กับพระราม ถูกฆ่าด้วยศรพรหมาสตร์ และพี่ชายอีกคนชื่อพระยาตรีเศียร มาแก้แค้นให้ จึงถูกพระรามฆ่าอีกคน

ทศกรรฐ์ลักนางสีดา

นางสำมนักขาเห็นพระยาทูษณ์ พระยาขร และพระยาตรีเศียรตาย จึงไปฟ้องทศกรรฐ์ ทศกรรฐ์ได้ฟังโกรธแค้นมาก คิดจะออกมาฆ่าพระราม พระลักษณ์ แต่นางสำมนักขากลัวพี่ชายจะไปฆ่าพระราม จึงแนะนำให้ทศกรรฐ์ไปเอานางสีดามาเป็นเมีย พร้อมกับพูดถึงความงามของนางสีดาด้วย ทศกรรฐ์ได้ฟังก็หลงรัก จึงให้มารีสแปลงเป็นกวางทอง ไปล่อนางสีดา นางสีดาเห็นเข้าก็อยากได้ พระรามจึงออกตามกวางไป พบว่าเป็นมารีส พระรามโกรธที่ได้ไว้ชีวิตเมื่อคราวไปทำร้ายฤาษี แต่ไม่รู้คุณ จึงแผลงศรไปถูกมารีสบาดเจ็บ มารีสแกล้งทำเสียงเป็นพระราม ร้องเรียกพระลักษณ์ให้ไปช่วย นางสีดาจึงให้พระลักษณ์ตามไปช่วย ทศกรรฐ์จึงได้แปลงกายเป็นฤาษีมาหานางสีดา ฤาษีกล่าวว่า นางสีดานั้นไม่เหมาะกับพระราม น่าจะเป็นเมียทศกรรฐ์มากกว่า นางสีดาโกรธจึงว่า น้องชายของทศกรรฐ์ยังถูกพระรามฆ่าหมด แล้วทศกรรฐ์จะสู้พระรามได้อย่างไร ทศกรรฐ์โกรธกลับเป็นร่างเดิมแล้วอุ้มนางสีดาไป ฝ่ายนกสดายุคิดถึงพระนารายณ์ จึงบินไปเยี่ยม ระหว่างทางเห็นทศกรรฐ์ลักพานางสีดาไปก็โกรธ เข้าขัดขวางและต่อสู้กัน ทศกรรฐ์เกือบจะแพ้ สดายุได้พูดเย้ยเยาะว่าตนไม่กลัวใคร นอกจากพระอิศวรและพระนารายณ์ รวมทั้งแหวนของพระอิศวรที่นิ้วนางสีดา ทศกรรฐ์จึงถอดแหวนจากนิ้วนางสีดาขว้างไปถูกสดายุปีกหักตกลงพื้นดิน แล้วพานางสีดาไปไว้ที่สวนขวัญ และให้โอรสชื่อสหัสกุมาร เฝ้าไว้

ส่วนพระรามเมื่อฆ่ามารีสตาย ก็นำกวางกลับมาที่อาศรม ระหว่างทางพบพระลักษณ์ เมื่อกลับมาถึงอาศรม จึงพากันติดตามหานางสีดา พบสดายุ สดายุได้เล่าให้ฟัง พร้อมกับนำแหวนนางสีดามาถวายและได้สิ้นชีวิตลง ยักษ์ตนหนึ่งชื่ออสุรกุมพล ถูกพระอิศวรสาปมาทนทุกข์ทรมาน เป็นเวลาหกหมื่นปีแล้ว พบพระรามและลักษณ์ เมื่อรู้ว่าเป็นพระนารายณ์ จึงเล่าให้ฟังว่า ตนถูกพระอิศวรสาป เมื่อพบกับพระรามจึงจะพ้นคำสาป แล้วทูลว่า นางสีดาถูกทศกรรฐ์พาไปเมืองลงกาซึ่งอยู่ไกลมาก ต้องไปถามพระยาพาลีที่เมืองขีดขินและยังมีเมืองชมพู ซึ่งอยู่ใกล้กัน ทั้งสองเมืองนี้มีไพร่พลวานรมากมาย คงจะพาพระรามข้ามไปยังกรุงลงกาได้ พระรามได้แผลงศรพรหมาสตร์ถูกกุมพลตาย จึงพ้นคำสาป จากนั้น พระราม พระลักษณ์ เดินทางต่อไปถึงป่าแหน่งหนึ่ง
หนุมานถวายตัว
ฝ่ายหนุมานได้เที่ยวป่า จนถึงที่พระราม พระลักษณ์ พักผ่อน จึงแปลงเป็นลิงน้อย แกล้งรูดใบไม้โปรยลงมา พระลักษณ์โกรธจับศรจะตี หนุมานแย่งศรไป ความทราบถึงพระราม เห็นว่าคงไม่ใช่ลิงธรรมดา เพราะมีกุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้ว เมื่อหนุมานรู้ว่าเป็นพระนารายณ์อวตารมา จึงเข้ามาสวามิภักดิ์ พระรามได้เล่าเรื่องที่นางสีดาถูกลักพาตัวมา

หนุมานจึงทูลว่าจะไปพาสุครีพมาเฝ้า สุครีพจึงเล่าเรื่องที่พระยาพาลีพี่ชาย ขับไล่ออกจากเมือง แล้วผิดคำสาบานกับพระนารายณ์ในครั้งก่อน ทูลขอให้พระรามฆ่าพระยาพาลี พระรามจำได้ จึงให้สุครีพไปล่อพาลีออกมา สุครีพได้ไปท้าทายพระยาพาลี ทั้งสองได้ต่อสู้กัน แต่พระรามไม่สามารถแผลงศรฆ่าพระยาพาลีได้ เพราะทั้งสองเหมือนกันมาก พระยาพาลีสู้ชนะสุครีพ จับสุครีพขว้างไปเนินเขาจักรวาล แล้วกลับเข้าเมือง สุครีพต่อว่าพระรามที่ไม่ฆ่าพระยาพาลี

พระรามจึงบอกว่ารูปร่างเหมือนกัน มองไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แล้วจึงฉีกชายผ้าให้สุครีพผูกแขนไว้ สุครีพจึงไปท้าพระยาพาลีใหม่ พระรามจึงยิงพระยาพาลีด้วยศรพรหมาสตร์ พระยาพาลีจับศรได้ แล้วถามพระรามว่าเรื่องรบนี้เป็นเรื่องระหว่างพี่น้อง ฤาษีไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว พระรามจึงบอกว่าพระยาพาลีได้ผิดคำสาบานกับพระอิศวรไว้ และต้องตายด้วยศรพระนารายณ์ แล้วพระรามจึงกลายร่างเป็นพระนารายณ์ พระยาพาลีจึงสำนึกตัวว่าได้ทำผิด จึงขอรับโทษ พระรามสงสารจึงว่าให้เอาศรสะกิดเลือดเพียงหยดเดียวก็จะสังเวยอำนาจศรได้ พระยาพาลีไม่ยอมขอลาตาย แล้วสอนสุครีพก่อนตาย

จากนั้นได้ปล่อยให้ศรปักตัวเองตาย ส่วนไพร่พลวานรได้หนีกระจัดกระจายไป สุครีพจึงทูลว่า จะรวบรวมให้ได้ภายในเจ็ดวัน เพื่อจะได้ไปปราบยักษ์ที่ลงกา ส่วนพระรามไม่ยอมพักในเมืองขีดขิน จะไปพักที่เชิงเขาคันธมาทน์ ระหว่างเดินทางพบพระยายูงทอง พระยายูงทองจึงทูลว่า นางสีดาสั่งไว้ว่าถูกทศกรรฐ์ลักไปกรุงลงกา ขอให้ติดตามไปช่วย ต่อมาจึงพบฝูงลิงป่า ฝูงลิงป่าได้ถวายผ้าสไบของนางสีดาแก่พระราม ฝ่ายพระอินทร์เห็นพระรามและพระลักษณ์ เดินทางไปยังเขาคันธมาทน์ เพื่อชุมนุมกองทัพไปปราบยักษ์ จึงให้พระวิศณุกรรม์ไปเนรมิตพลับพลาที่บริเวณอันเป็นชัยภูมิ แล้ววางเครื่องทรงไว้ให้เปลี่ยนหลังจากลงเพศฤาษี

สุครีพได้เกณฑ์ไพร่พลที่กระจัดกระจายไป ส่วนพระรามให้หนุมานนำสาสน์ไปเกลี้ยกล่อมท้าวชมพู แต่ไม่เป็นผล หนุมานจึงร่ายมนต์ ทำให้ท้าวชมพูหลับ แล้วอุ้มพาไปพบพระราม พระรามดีใจตรัสชมสุครีพ และแล้วลูบตัวหนุมานตั้งแต่หัวจนถึงหาง หนุมานจึงพ้นคำสาปของพระอุมา
พระรามจัดทัพ
ฝ่ายนิลพัท ได้ตามมาหาท้าวชมพู ท้าวชมพูจึงพาเข้าพบพระราม เมื่อท้าวชมพู และนิลพัท เข้าสวามิภักดิ์แล้ว จึงจัดทัพโดยมีนิลพัทเป็นจอมทัพ มารวมกับทัพของสุครีพ แล้วไปยังภูเขาคันธมาทน์ พร้อมด้วยสิบแปดมงกุฎทหารใหญ่ เพื่อเฝ้าพระราม ส่วนประคนธรรพ์ ที่อาศัยอยู่เชิงเขายุคนธร เหาะผ่านมารู้ว่าเหล่าวานรจะยกทัพไปรบเหล่าทัพกับพระราม ก็ดีใจให้นิลขันพาไปถวายตัวแก่พระราม สุครีพ หนุมาน องคต นิลพัท ชมพูพาน นิลนน โคมุท และทหารสิบแปดมงกุฎ ปรึกษากันแล้วทูลพระรามว่า กองทัพทั้งสองเมืองแม้จะมีกำลังเข้มแข็ง แต่หนทางไปกรุงลงกากันดารมาก อาจเกิดขัดสนในเรื่องเสบียงอาหารและอื่น ๆ ควรให้คนไปสืบข่าวก่อนจึงค่อยยกทัพไป พระรามเห็นชอบ จึงให้หนุมาน ชมพูพาน องคต นำข่าวไปแจ้งแก่นางสีดา แล้วมอบแหวนกับสไบ ให้หนุมานไปเป็นเครื่องยืนยันแก่นางสีดา ทั้งสามวานรได้พาไพร่พลเหาะไป และได้แวะพักผ่อนที่สระโบกขรณี แล้วหลับไป พบยักษ์ตนหนึ่งชื่อปักหลั่น ที่ถูกพระอินทร์สาปมาเฝ้าสระ จึงเข้าต่อสู้กัน เมื่อยักษ์รู้ว่าเป็นทหารของพระนารายณ์จึงยอมอ่อนน้อม องคตจึงสงสารช่วยยักษ์ปักหลั่นให้พ้นคำสาป ทั้งสามทหารได้เดินทางรอนแรมไป จนไปพบกับฤาษีชฎิล ฤาษีจึงบอกว่าให้เดินทางไปยังภูเขาเหมติวัน ซึ่งอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรที่จะข้ามไปลงกา เมื่อสามทหารและไพร่พลเดินทางไปถึงภูเขาเหมติวัน พบกับพระยานกสัมพาที ซึ่งเป็นเพื่อนกับสดายุ จึงถามเรื่องราวของสดายุ หนุมานเล่าให้ฟังแล้วถามว่า ทำไมจึงไม่มีขน พระยานกสัมพาทีจึงเล่าให้ฟังว่า ตนเป็นพี่ชายของสดายุ

วันหนึ่งสดายุเห็นพระอาทิตย์ นึกว่าผลไม้ จึงจะจับกิน ตนห้ามไม่ฟัง พระอาทิตย์จึงเปล่งแสงร้อนแรง ตนจึงไปช่วยจนขนหลุดหมด และพระอาทิตย์ก็ยังได้สาปตนให้อยู่ในถ้ำเหมติวัน และขนไม่งอกขึ้น จนกว่าจะพบกับทหารพระนารายณ์ คุมพลมาเพื่อจะข้ามไปลงกา แล้วเหล่าวานรได้โห่ขึ้นสามครั้ง ขนจึงจะงอกดังเดิม เมื่อพ้นคำสาปแล้ว จึงพาสามทหารขี่หลังบินไปจนถึงเขาคันธสิงขร แล้วชี้ว่าเกาะกลางสมุทรที่มีเขาสูงชื่อนิลกาฬนั้นคือกรุงลงกา หนุมานจึงให้ชมพูพานกับองคต ไปคุมทัพคอย ส่วนหนุมานจะไปเฝ้านางสีดา

หนุมานเข้าลงกา

ภายในมหาสมุทรรอบกรุงลงกานั้นมีผีเสื้อสมุทร ซึ่งทศกรรฐ์ได้สั่งให้รักษาด่านสมุทร เห็นหนุมานเหาะข้ามมา จึงเข้าขัดขวางแล้วเข้าสู้รบกัน ถูกหนุมานฆ่าตาย แล้วจึงเหาะไปพบเขาโสฬส คิดว่าเป็นเขานิลกาฬ พบกับฤาษีนารท ได้ลองภูมิกับฤาษี แต่แพ้ฤาษี

หนุมานถวายแหวน

ฝ่ายนางสีดานั้นถูกทศกรรฐ์จับขังไว้ในสวนนี้นานแล้ว และยังถูกนางกำนัลของทศกรรฐ์ด่าทอด้วยคำหยาบ จนเจ็บช้ำใจมาก พระรามก็ยังไม่มาช่วย จึงคิดผูกคอตาย หนุมานได้ช่วยไว้ทัน และกราบทูลให้ทราบถึงข่าวของพระราม แล้วถวายแหวนกับสไบแก่นาง นางสีดาไม่เชื่อ ด้วยแหวนและสไบนี้ตกอยู่กลางป่า ใครจะเก็บมาก็ได้ หนุมานจึงทูลความสัมพันธ์ระหว่างพระรามและสีดาที่เมืองมิถิลา นางสีดาจึงเชื่อ หนุมานจึงทูลนางสีดาว่า จะพากลับไปหาพระราม นางสีดาไม่ยอม ด้วยเห็นว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นยักษ์ลักมาลิงพาไปเป็นความอัปยศ จึงให้หนุมานไปทูลให้พระรามกรีฑาทัพมาฆ่าทศกรรฐ์ จะเหมาะสมกว่า
หนุมานเผาลงกา
หนุมานเมื่อทูลลานางสีดาแล้ว คิดว่าเมื่อเข้ามาเหยียบกรุงลงกาแล้ว ก็ควรจะได้ลองฤทธิ์กับเหล่ายักษ์ดูบ้าง จึงแผลงฤทธิ์ หักต้นไม้ในสวน สหัสกุมารเข้าต่อสู้ ถูกหนุมานฆ่าตาย ทศกรรฐ์รู้ข่าว จึงให้อินทชิตไปฆ่าหนุมาน อินทรชิตพบหนุมานต่อสู้กัน หนุมานแกล้งทำเป็นแพ้

อินทรชิตจึงให้ไพร่พลยักษ์เอาโซ่เหล็กมัดหนุมาน แล้วพาไปหาทศกรรฐ์ หนุมานได้สบัดโซ่ขาด เข้าต่อสู้กับไพร่พลยักษ์อีก แล้วแกล้งทำเป็นอ่อนแรง บอกทศกรรฐ์ว่าให้ฆ่าตนให้ตายจะได้ไม่ทรมาน

ทศกรรฐ์ไม่รู้วิธีฆ่าหนุมาน จึงบอกให้ใช้ไฟฆ่าตน ทศกรรฐ์จึงให้เอาเชื้อไฟมาพันรอบตัวของหนุมาน แล้วจุดไฟด้วยหอกแก้วสุรกานต์หนุมานจึงกระโจนไปในปราสาท ใช้ไฟที่ลุกติดร่างกายอยู่ เที่ยวจุดไฟเผาไปทั่ว ทศกรรฐ์จึงรู้ว่าตนเสียรู้หนุมาน และไฟที่เกิดจากหอกไม่อาจดับได้ จึงต้องพาไพร่พลไปอยู่ที่ภูเขาสัตนา ส่วนหนุมานไม่สามารถดับไฟที่หางของตนได้ จึงไปพบฤาษีนารทเพื่อให้ช่วยดับ ฤาษีให้เอาหางมาอมใช้น้ำลายดับ จึงสามารถดับไฟได้

ฝ่ายทศกรรฐ์ได้ให้เสนายักษ์ไปอัญเชิญพระอินทร์ และเหล่าเทวดา ลงมาสร้างเมืองให้ตนใหม่ ฝ่ายสามทหารของพระรามที่ไปสืบเรื่องนางสีดา ได้ยกทัพกลับยังภูเขาคันธมาทน์ แล้วหนุมานได้เล่าเรื่องให้พระรามฟัง พระรามโกรธที่หนุมานทำเกินเหตุ โดยไปเผากรุงลงกา จึงจะลงโทษประหารชีวิต ไพร่พลวานรได้ขอว่า ควรจะยกเว้นโทษให้ครั้งหนึ่ง พระรามจึงยกโทษให้ ชมพูพานได้ทูลพระรามว่า ควรจะยกทัพไปยังเชิงเขาคันธกาลา ริมฝั่งมหาสมุทร ตรงข้ามเกาะลงกา พระรามเห็นด้วย ส่วนทศกรรฐ์ หลังจากที่สร้างเมืองใหม่แล้ว ก็คิดถึงแต่นางสีดา วันหนึ่งได้ฝันไปว่า มีพระยาแร้งขาวบินมาจากทิศตะวันออกถึงหน้าพระลาน แร้งสีดำบินจากทิศตะวันตก เกิดตีกัน แร้งดำตายกลายเป็นยักษ์

มีหญิงหนึ่งวิ่งมาจุดไฟ จนน้ำมันแห้งไส้มอด แต่ไฟกลับลุกไหม้กะลาลามมายังมือ มีพิษร้อนไปทั่วร่างกาย จึงขอให้พิเภกทำนายฝัน พิเภกทำนายว่า กะลาได้แก่กรุงลงกา เชื้อไส้ได้แก่ทศกรรฐ์ น้ำมันคือพระญาติพระวงศ์ เพลิงได้แก่นางสีดา หญิงที่จุดไฟคือนางสำมนักขา แร้งขาวคือพระราม แร้งดำคือทศกรรฐ์ และทศกรรฐ์จะได้รบกับพระราม กรุงลงกาจะเดือดร้อนไปทั่ว ทศกรรฐ์ได้ฟังก็กลัวว่าจะตายก่อนที่จะได้นางสีดาเป็นเมีย จึงให้พิเภกช่วยสะเดาะเคราะห์ให้ พิเภกจึงให้ทศกรรฐ์ตั้งมั่นอยู่ในศีลในสัตย์ และควรจะส่งนางสีดาคืนพระราม ทศกรรฐ์โกรธมาก จึงขับไล่พิเภกออกจากลงกา

พิเภกถวายตัว

พิเภกรู้ว่าดวงชะตาของตนจะต้องออกจากเมือง และพระนารายณ์จะเป็นผู้อุปถัมภ์ จึงเหาะไปหาพระราม พบกับสุครีพและได้พากันไปพบพระราม พระรามจึงรับพิเภกไว้ แล้วให้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยเอาน้ำสรงศรพรหมาสตร์เป็นประธาน ต่อมาสุครีพกับพิเภกจึงตั้งสัตย์สาบานว่าจะเป็นเพื่อนกัน

ฝ่ายพระรามเมื่อคิดว่าต่อไปจะทำสงครามกับยักษ์ จึงให้สุครีพพาเหล่าวานรไปประลองฝีมือที่ริมฝั่งมหาสมุทร เกิดเสียงดังกัมปนาท ทศกรรฐ์จึงให้สุกรสารออกไปสืบขณะบินไปถูกก้อนหินที่ลิงทุ่มกันไปมาตกลงมา จึงแปลงร่างเป็นลิงวิ่งปะปนไป พิเภกรู้ว่ามียักษ์ปลอมเป็นลิงมาจึงทูลพระราม พระรามให้หนุมานจับยักษ์ปลอมมา หนุมานจึงแปลงกายใหญ่เท่าเขาจักรวาล เอามือครอบไพร่พลลิงไว้ แล้วให้เดินเรียงออกมา หนุมานจึงจับสุกรสารได้ สักหน้าผากปล่อยกลับไปลงกา

ทศกรรฐ์คิดว่าน่าจะเป็นเพราะพิเภกเป็นคนบอกความลับ ควรจะฆ่าให้ตาย เพื่อไม่ให้เป็นไส้ศึกในวันข้างหน้า จึงแปลงเป็นฤาษีไปที่หน้าพลับพลาของพระราม แล้วร่ายมนต์ผูกใจพิเภกไม่ให้พูดความจริง

ฤาษีได้ไปอวยชัยให้พรแก่พระราม และยุยงพระรามว่า นางสีดาคงเสียทีแก่ทศกรรฐ์แล้ว รวมทั้งว่าทำไมทัพจึงมีทั้งยักษ์และลิงอยู่ปะปนกัน และพิเภกเป็นพี่น้องกับทศกรรฐ์ อาจเอาใจออกห่างได้ และพิเภกถูกอำนาจสะกดของทศกรรฐ์ พูดไม่ได้ ทศกรรฐ์เห็นว่าหากพระรามรู้ว่าแปลงกายมาจะต้องตายแน่ จึงกลับลงกา

เบญจกายแปลง

เมื่อทศกรรฐ์กลับถึงลงกาแล้ว คิดวิธีตัดศึกสงครามไม่ให้ลุกลามต่อไป จึงเรียกนางเบญจกายลูกของพิเภกเข้าเฝ้า แล้วสั่งให้แปลงเป็นสีดาตายลอยน้ำมา เพื่อลวงพระราม เมื่อพระรามกับพระลักษณ์ไปสรงน้ำ เห็นนางเบญจกายแปลง นอนตายอยู่ริมแม่น้ำก็เสียใจมาก แต่หนุมานทูลว่า นางนี้คงไม่ใช่นางสีดา เพราะศพยังดูสดชื่นไม่มีกลิ่น และยังลอยทวนน้ำมา สมควรได้นำศพนางวางบนกองไฟ พระรามเห็นด้วย นางเบญจกายแปลง ไม่อาจทนความร้อนได้ จึงเหาะหนี หนุมานตามไปจับมาได้ นำไปให้สุครีพซักถาม

นางเบญจกายว่าที่แปลงมานี้เพราะอยากมาดูว่าพิเภกผู้เป็นพ่อตายหรือยัง สุครีพไม่เชื่อสั่งให้เฆี่ยนตี นางเบญจกายทนเจ็บปวดไม่ไหว จึงบอกความจริงว่า ทศกรรฐ์ได้ให้นางแปลงมาลวงพระราม พิเภกจึงทูลให้พระรามประหารชีวิตนางเสีย เพื่อคงไว้ซึ่งพระเกียรติยศของตน แต่พระรามเห็นแก่พิเภก ซึ่งเป็นผู้มีสัตย์ จึงให้นำนางเบญจกายส่งไปลงกา หนุมานได้พานางเบญจกายไปส่ง ระหว่างทางได้นางเบญจกายเป็นเมีย
พระรามจองถนน
ฝ่ายพระรามคิดจะปราบเหล่ายักษ์ให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ชามพูวราช ได้ทูลว่า การที่พระรามจะข้ามไปลงกาด้วยฤทธิ์อำนาจที่เหล่าทหารขันอาสานั้นย่อมทำได้ แต่จะทำให้เสียพระเกียรติยศ ควรจะให้ไพร่พลนำเอาหินไปทิ้งเพื่อสร้างถนนในมหาสมุทร พระรามจึงสั่งให้สุครีพพาไพร่พลไปเร่งสร้างถนน โดยให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน นิลพัทนั้นแค้นหนุมานมาแต่เดิมแล้ว ได้โอกาสล้างแค้นจึงแสดงฤทธิ์ เอาเท้าคีบเขาหิมวันต์ สองมือชูเขาคิรินทร เหาะมาแล้วบอกให้หนุมานคอยรับ นิลพัทจึงทิ้งภูเขาลงมาทั้งสองลูกหวังให้ถูกหนุมาน แต่หนุมานรับไว้ได้ จึงคิดแก้ลำบ้าง โดยไปหักยอดเขา และนำหินก้อนมหึมาผูกตามขน แล้วให้นิลพัทรับบ้าง นิลพัทเห็นจึงขอให้หนุมานโยนมาทีละก้อน หนุมานว่า ทีนิลพัทแกล้งทิ้งมาพร้อมกันหวังให้ตาย แล้วทิ้งหินทั้งหมดลง นิลพัทใช้มือและเท้ารับไว้ได้ หนุมานหาว่านิลพัทสบประมาทตน และได้ท้าวความถึงท้าวชมพูที่มีฤทธิ์มาก ตนยังจับมาได้ นับประสาอะไรกับนิลพัท

นิลพัทโกรธท้าหนุมานต่อสู้ดังกึกก้อง พระรามได้ยินคิดว่าเหล่าลิงรบกับยักษ์ ให้พระลักษมณ์ไปดู แล้วจึงพาสุครีพ หนุมาน และนิลพัท เฝ้าพระราม พระรามโกรธ สุครีพจึงทูลแก่พระรามว่า ควรจะแยกทั้งคู่ให้ห่างกัน โดยให้หนุมานอยู่กับพระราม ส่วนนิลพัทให้กลับไปช่วยท้าวชมพูดูแลเมืองขีดขิน ทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง ถ้าขาดราชการจะประหารเสีย ฝ่ายพระรามได้สั่งให้หนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเสร็จภายในเจ็ดวัน หากไม่เสร็จจะประหารชีวิต

กำเนิดมัจฉานุ

ทศกรรฐ์รู้ข่าวการจองถนน คิดถึงภัยข้างหน้า จึงให้นางสุพรรณมัจฉาบุตรี นำเหล่าบริวารปลาขนหินไปทิ้งกลางทะเลลึกไม่ให้ถนนเสร็จได้ จนเป็นที่ผิดสังเกตของสุครีพว่า ทิ้งหินลงไปมาก แต่ยุบหายไปหมด ให้หนุมานลงไปดูก็พบนางสุพรรณมัจฉาและได้นางเป็นเมีย นางจึงช่วยขนหินกลับมาตามเดิม ถนนจึงเสร็จ ต่อมานางสุพรรณมัจฉาคลอดลูกเป็นมัจฉานุ

ฝ่ายไมยราพที่ครองเมืองบาดาล ฝันว่ามีเทวดา นำแก้วใสสว่างมาให้ โหรทำนายว่าจะได้บุตรบุญธรรมผู้มีฤทธิ์ ต่อมาเทวดาดลใจให้ออกไปประพาสป่าพบมัจฉานุ จึงได้พามัจฉานุไปเลี้ยงไว้ที่เมืองบาดาล เมื่อถนนเสร็จ พระราม พระลักษมณ์ ก็นำทัพไปลงกา ทศกรรฐ์รู้ว่าพระรามยกทัพมา จึงสั่งให้ภานุราช ไปเนรมิตชัยภูมิที่เหมาะแก่การตั้งทัพ หากพระรามยกมาตั้งที่นั่น ก็ให้พลิกแผ่นดินเสีย ฝ่ายพระราม เมื่อถึงลงกา ได้ให้ประคนธรรพ์ดูเลตั้งทัพ เห็นป่าเนรมิตก็ชอบ พระรามสงสัยจึงถามพิเภก พิเภกทูลว่าที่กรุงลงกาไม่มีป่าอย่างนี้ น่าจะเป็นอุบาย พระรามให้หนุมานไปดู หนุมานดูแล้วก็รู้ว่าเป็นกลของยักษ์ เพราะในป่ามีผลไม้สุกแต่ไม่มีนก น่าจะมีศัตรูอยู่ใต้พื้นดิน จึงแทรกแผ่นดินไปพบภานุราช เอามือแบกแผ่นดินไว้ ได้ต่ดสู้กัน ถูกหนุมานฆ่าตาย พระรามโกรธ ไล่ประคนธรรพ์ไปเนื่องจากเสียรู้ข้าศึก
องคตสื่อสาร
ฝ่ายพิเภกได้ทูลว่า เขามรกต มีชัยภูมิเหมาะแก่การตั้งทัพ ด้วยไม่ใกล้ไม่ไกลจากเมืองลงกา และยังถูกต้องตามตำราพิชัยสงคราม แต่มียักษ์กุมภาสูรเฝ้าอยู่ พระรามให้หนุมานไปปราบ แล้วเคลื่อนทัพไปที่เขามรกต แล้วทรงปรึกษาพระยาวานรว่า ควรจะยกกำลังเข้ารบเหล่ายักษ์เลยหรือไม่ สุครีพและเหล่าวานรจึงทูกว่า น่าจะส่งทูตเข้าไปเจรจากับทศกรรฐ์ก่อน หากไม่ยอมส่งนาสีดามา จึงจะยกทัพเข้าโจมตี พระรามให้องคตผู้ซึ่งมีสติปัญญารอบคอบ และมีลิ้นการทูต ถือสาสน์ไปหาทศกรรฐ์ เมื่อไปถึงเมือง พลยักษ์ไม่ยอมเปิดประตูรับ องคตจึงร่ายเวทเนรมิตตนให้สูงใหญ่ เอามือปิดดวงอาทิตย์มืดครึ้มไปทั้งเมือง ทศกรรฐ์รู้ว่าเป็นลูกนางมณโฑกับพระยาพาลี แต่จะไม่ต้อนรับก็ไม่ได้ ขณะที่อยู่ต่อหน้าทศกรรฐ์ไม่ไหว้ แล้วม้วนหางให้สูงเท่ากับบัลลังก์ทศกรรฐ์ แล้วว่าพระรามให้ถือสาสน์มาให้ทศกรรฐ์คืนนางสีดา

ทศกรรฐ์จึงว่า พระรามฆ่าพ่อตายยังไปเป็นข้ารับใช้ องคตจึงกล่าววาจายอกย้อนเกี่ยวกับเรื่องในอดีต ทศกรรฐ์โกรธให้เหล่ายักษ์จับองคต แต่ถูกองคตฆ่าตาย แล้วจึงเหาะกลับมาหาพระราม

สุครีพหักฉัตร

ทศกรรฐ์แค้นใจมากที่องคตฆ่าเสนาตาย และยังกล่าวประจานตนไว้มาก จะติดตามฆ่าก็ทำไม่ได้ เพราะไพร่พลวานรมีมากมาย จึงให้ยกฉัตรขึ้นบังดวงอาทิตย์ ทำให้เมืองลงกามืดมิด จะได้ฆ่าพลวานรได้สะดวก ส่วนพระรามได้ยินเสียงไพร่พลวานรร้องกันอื้ออึง ทั้งยังมืดมิดก็แปลกใจ ถามพิเภกจึงรู้ว่า เป็นเพราะทศกรรฐ์ยกฉัตรขึ้นบังแสงอาทิตย์ ฝ่ายพระรามมองไม่เห็น แต่ฝ่ายทศกรรฐ์มองเห็น พระรามจึงให้สุครีพไปหักฉัตร พร้อมกับเอามงกุฎของทศกรรฐ์กลับมาถวายพระราม

ศึกไมยราพ

ฝ่ายทศกรฐ์อับอายและแค้นใจมาก คิดจะให้ไปลอบฆ่าพระรามและพระลักษมณ์เสีย จะได้ไม่ต้องยกทัพไปรบ เปาวนาสูร จึงทูลว่า ควรไปเชิญไมยราพซึ่งชำนาญในการล่องหนหายตัวและมีมนต์สะกด มาช่วยให้เข้าไปลอบฆ่าทศกรรฐ์ให้ได้ นนยวิกวายุเวก ไปเชิญไมยราพมาช่วย ไมยราพได้มาเฝ้าทศกรรฐ์ที่ลงกา แล้วรับปากกับทศกรรฐ์ว่าจะไปฆ่าพระรามและพระลักษมณ์ ให้ ไมยราพได้ตั้งพิธีหุงยาขึ้นที่เขาสุรกานต์ ได้ยาที่มีคุณลักษณะเป็นสัตว์ร้ายชนิดต่าง ๆ หากเอายาทาทั่งร่างกายก็จะหายตัวได้ ต่อมาไมยราพได้ฝัน เมื่อโหรทำนายว่า ไวยวิกผู้เป็นญาติจะได้ครองเมืองบาดาล ไมยราพจึงให้ขังไวยวิกและนางพิรากวนผู้เป็นแม่ไวยวิกไว้ เมื่อเสร็จศึกก็จะกลับมาฆ่า ส่วนพระรามก็ฝันเช่นเดียวกัน พิเภกทำนายว่าพระรามจะถูกไมยราพหลานทศกรรฐ์ ลักพาไปยังเมืองบาดาล แต่จะไม่ได้รับอันตราย หนุมานจึงขออาสาป้องกันด้วยการมายืนกลางกองทัพ แปลงกายให้ใหญ่เท่าเขาจักรวาล หยั่งลึกลงถึงพื้นมหาสมุทร ใช้หางพันไว้เป็นปราการล้อมกองทัพไว้ แล้วอมพลับพลาพระราม และพระลักษมณ์อยู่ที่อก ใช้ปากเป็นช่องประตู ลิ้นเป็นบานประตู บรรดาทหารเอกก็แบ่งหน้าที่กันรักษาพระราม
ไมยราพสะกดทัพ
ตกกลางคืนไมยราพได้ชำแรกดินขึ้นมา เห็นปราการสูงใหญ่จากใต้ดินจนถึงพรหมชั้นสิบหก กั้นพลับพลาของพระราม พระลักษมณ์อยู่ เข้าไปไม่ได้ จึงแปลงเป็นลิงปะปนอยู่กับยาม รู้ว่าพลลิงจะเลิกอยู่เวรยามเมื่อพ้นยามราตรี ไมยราพได้ฟังเหาะไปยอดเขาโสลาสแกว่งกล้องแก้วโกมินทร์ เกิดเป็นแสงคล้ายดาวประกายพฤกษ์ เหล่ายามคิดว่าเป็นดาวประกายพฤกษ์จริง ได้ร้องบอกกันว่าเคราะห์ของพระรามหมดสิ้นแล้ว และแยกย้ายไปนอนหลับ

ไมยราพได้เอายาสะกดใส่กล้องแก้วเป่าไปถูกเหล่าวานรจนหลับทั้งกองทัพ แล้วเดินเข้าปากหนุมานเป่ายาอีกเป็นครั้งที่สอง ทำให้สุครีพกับหนุมานหลับ ไมยราพเข้าไปถึงพลับพลาได้เป่ายาอีก ทำให้พิเภก พระราม พระลักษมณ์หลับ จึงอุ้มพระรามไปบาดาล สั่งให้พลยักษ์ต้มน้ำทิ้งไว้ รุ่งเช้าจะต้มไวยวิก นางพิรากวน และพระราม ในคราวเดียวกัน

หลังจากที่ไมยราพลักพาพระรามไปแล้ว มนต์สะกดก็เสื่อม พิเภกบอกพระลักษมณ์ว่าเป็นการกระทำของไมยราพ พระลักษมณ์สั่งให้นุมานไปตาม หนุมานหักด่านชั้นนอกเข้าไปได้ จนพบกับมัจฉานุซึ่งรักษาด่านชั้นใน ได้เกิดต่อสู้กัน ต่อมาหนุมานรู้ว่ามัจฉานุคือลูก แต่มัจฉานุไม่เชื่อบอกว่าต้องหาวเป็นดาวเป็นเดือนให้ดู หนุมานหาวให้ดู มัจฉานุจึงขอขมาหนุมาน แต่ไม่ต้องการอกตัญญูต่อไมยราพ จึงเพียงบอกใบ้ทางให้ หนุมานหักก้านบัวแล้วลอดลงไป พบนางพิรากวน นางบอกที่ซ่อนของพระราม แต่ว่าถึงจะมีร่างกายเล็กเท่าแมลงก็ยากจะรอดสายตาเหล่ายักษ์ หนุมานแปลงเป็นใยบัวติดสายสไบนางพิรากวน

จนมาถึงดงตาลท้ายเมืองที่คุมขังพระราม จึงอุ้มพระรามไปยังเขาสุรกานต์ แล้วกลับมาบาดาล ได้ต่อสู้กับไมยราพ แต่ไม่อาจฆ่าไมยราพได้ นางพิรากวนจึงบอกว่า ที่ไมยราพไม่ตายนั้นเพราะได้ถอดดวงใจเป็นแมลงภู่ซ่อนไว้ที่ยอดเขาตรีกูฏ หนุมานจึงแปลงกายใหญ่เท่าเขาพระสุเมร แล้วเอื้อมมือไปจับแมลงภู่บีบขยี้จนไมยราพตาย จากนั้นกลับมาอุ้มพระรามพากลับไปยังพลับพลาเขามรกต เมื่อสร่างมนต์สะกดได้รู้เรื่องราว จึงมอบธำมรงค์นพรัตน์ให้หนุมาน

กุมภกรรณออกศึก

ฝ่ายกุมภกรรณ น้องชายทศกรรฐ์ ซึ่งเป็นผู้มีทศพิธราชธรรม เมื่อทศกรรฐ์เรียกมาปรึกษาว่าจะให้กุมภกรรณไปรบกับพระราม เพราะมีหอกโมกขศักดิ์ กุมภกรรณทูลว่า ต้นเหตุแห่งสงครามนั้นเกิดจากนำนางสีดามา หากคืนไป สงครามก็จะสงบ ทศกรรฐ์โกรธ กุมภกรรณจึงจำใจต้องยกทัพไปรบกับพระราม พระรามให้พิเภกไปเจรจาให้กุมภกรรณยกทัพกลับไป กุมภกรรณไม่เชื่อว่าพระรามเป็นพระนารายณ์อวตาร พิเภกจึงกลับมาทูลพระราม พระรามให้องคตไปเจรจากับกุมภกรรณอีก แต่ไม่ได้ผล

พระรามจึงให้สุครีพออกไปรบ กุมภกรรณจึงออกอุบายให้สุครีพไปถอนต้นรังใหญ่ที่อุดรทวีป จนหมดแรง เมื่อสุครีพถอนต้นรังมา ก็ได้กลับมารบกับกุมภกรรณต่อ จึงเสียทีถูกกุมภกรรณจับได้พากลับไปลงกา พระรามรู้ข่าวจึงให้หนุมานไปช่วย กุมภกรรณแพ้หนีกลับเข้าเมือง การที่สุครีพเสียรู้จนเสียทีแก่กุมภกรรณ ทำให้พระรามโกรธมาก แต่ด้วยมีความดีความชอบมาก่อน จึงยกโทษให้พร้อมทั้งชมเชยหนุมาน

ฝ่ายทศกรรฐ์รู้ว่ากุมภกรรณแพ้ จึงปลอบโยนให้หาวิธีใหม่ กุมภกรรณได้ขึ้นไปเอาหอกโมขศักดิ์ที่ชั้นพรหม กลับมาทำพิธีลับหอกที่ริมแม่น้ำสีทันดร เชิงเขาพระสุเมรุ และให้เหล่าเสนายักษ์คอยเฝ้า ไม่ให้สิ่งเน่าเหม็นเข้ามาใกล้บริเวณโรงพิธี เพราะกุมภกรรณเกลียดความสกปรก หากเมื่อใด ลับหอกคมทั้งสี่ด้าน ก็จะเป็นหอกที่มีฤทธิ์มากดังไฟกรด พระรามเมื่อรู้ข่าว ก็ให้หนุมานแปลงเป็นหมาเน่าลอยน้ำ องคตแปลงเป็นกา ไปทำลายพิธี กุมภกรรณลับหอกอยู่เห็นเข้าจึงเลิกลับหอก กลับเข้ากรุงลงกาไป ทศกรรฐ์จึงว่า แม่น้ำสีทันดรนั้นอยู่ไกลจากเหล่ามนุษย์ และเป็นที่อยู่ของพญานาค แต่มีหมาเน่าลอยน้ำมา น่าจะเป็นแผนของพิเภกที่บอกพระรามให้มาล้างพิธี อย่างไรก็ตามหอกโมกขศักดิ์นั้นมีฤทธิ์มากอยู่แล้ว จึงให้กุมภกรรณออกไปรบอีกครั้ง ส่วนพระรามให้พระลักษมณ์ออกไปรบกับกุมภกรรณต้องหอกโมกขศักดิ์สลบไป สุครีพจึงให้นิลนนท์ไปเชิญพระรามมาดู พระรามเสียใจมาก

พิเภกทูลว่าพระลักษมณ์ยังไม่ตาย แต่ที่ดึงหอก โมกขศักดิ์ไม่หลุดก็เพราะเป็นพรของพระพรหม ซึ่งมียาแก้ โดยต้องเอาต้นยาสังกรณี ตรีชวา ที่เขาสรรพยา กับน้ำที่ปัญจมหานที มาทาที่แผล หอกก็จะหลุด และต้องไม่ให้พ้นคืนนี้ หากดวงอาทิตย์ขึ้นก็จะตาย พระรามสั่งให้หนุมานไปหยุดรถพระอาทิตย์ไว้ แล้วรีบไปเก็บยา

ฝ่ายพระอาทิตย์เมื่อเห็นหนุมานมาหยุดรถก็โกรธ แต่เมื่อรู้เรื่องราวแล้วจึงบอกว่า จะห้ามวิถีจักรราศีนั้นไม่ได้ เพียงจะหลบเดินรถเข้ากลีบเมฆให้ ส่วนหนุมานนั้นจะต้องรีบไปเอายา และน้ำที่ปัญจมหานทีที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อนำยาไปทาที่แผล หอกจึงหลุดออก ส่วนเสนายักษ์ที่คอยเฝ้าดูอยู่ เห็นพระลักษมณ์ฟื้นขึ้น จึงไปทูลทศกรรฐ์ กุมภกรรณจึงว่า หากใครโดนหอกโมกขศักดิ์ยากที่จะรอดชีวิต แต่พิเภกคงแก้กลให้พระลักษมณ์ ควรหาวิธีทำลายทัพพระรามให้อดน้ำตาย แล้วได้ไปตั้งพิธีทดน้ำไม่ให้ไหลไปที่เขามรกต โดยเนรมิตกายใหญ่นอนทอดขวางแม่น้ำไว้ ฝ่ายเหล่าเสนาลิงเห็นน้ำในแม่น้ำแห้ง ไปทูลพระราม พิเภกบอกว่าเป็นเพราะกุมภกรรณไปตั้งพิธีทดน้ำ ครบเจ็ดวันไพร่พลลิงจะได้อดน้ำตายหมด พระรามให้หนุมานไปทำลายพิธีตามคำแนะนำของพิเภกได้สำเร็จ ต่อมาทศกรรฐ์ได้ให้กุมภกรรณยกทัพมารบอีก แล้วให้ฆ่าพิเภกเสียในคราวเดียวกัน พระรามออกไปรบกับกุมภกรรณ กุมภกรรณต้องศรพรหมมาสตร์ตาย
อินทรชิตออกศึก
ทศกรรฐ์เมื่อรู้ว่ากุมภกรรณตาย เสียใจ และโกรธแค้นมาก สั่งให้อินทรชิตไปแก้แค้นแทนอา พระรามให้พระลักษมณ์ไปรบ ไม่แพ้ไม่ชนะ อินทชิต บอกว่าให้พระลักษมณ์มารบกันใหม่ในวันรุ่งขึ้น ฝ่ายอินทชิตเมื่อกลับเข้าลงกาแล้ว คิดว่าศัตรูมีกำลังกล้าแข็งมาก ทูลทศกรรฐ์ว่าจะไปทำพิธีชุบศรนาคบาศที่เขาอากาศ โดยให้ฝูงนาคมาคายพิษลงบนศร เป็นเวลาเจ็ดวัน จึงจะเสร็จพิธี ระหว่างที่อินทชิตไปทำพิธีชุบศร ทศกรรฐ์ให้มังกรกัณฐ์โอรสพระยาขรผู้เป็นหลาน ไปรบขัดตาทัพไว้ก่อน พระรามได้ออกไปรบ ถูกมังกรกัณฐ์ยิงศรทะลุเกราะเพชร พระรามจึงแผลงศรไปถูกศรของมักกรกัณฐ์หัก และถูกเหล่ายักษ์ตายลงเป็นจำนวนมาก

มังกรกัณฐ์จึงหนีไปซ่อนในกลีบเมฆ และเนรมิตรูปมายาปั้นรูปของตนขึ้นมากมาย พร้อมกับบันดาลให้ฝนเพลิงตกลงมา พิเภกบอกวิธีสังหารมังกรกัณฐ์ พระรามได้แผลงศรพรหมมาสตร์ไปสังหารตัวจริงตาย รูปมายาก็หายไปหมด

สารัณทูต จึงกลับไปบอกทศกรรณ์ ทศกรรฐ์ได้ให้วิรุญมุข ลูกวิรุญจำบัง ยกทัพไปขัดตาทัพอีก ต่อมาพระรามรู้ว่าอินทรชิตไม่ยกทัพมา เพราะไป ตั้งพิธีชุบศรนาคบาศในโพรงไม้โรทันที่เขาอากาศ ก็ให้ชามพูวราช แปลงเป็นหมีไปกัดไม้ที่อาศัยทำพิธีให้หักโค่นลง การเรียกพิษนาคจึงไม่ต่อเนื่อง อำนาจจึงเสื่อม

ฝ่ายอินทรชิตเมื่อเสียพิธีแล้ว จึงไปยังเขามรกต ไปสมทบกับทัพวิรุญมุข พระรามได้ให้พระลักษมณ์ออกไปรบอีก แต่ถูกศรนาคบาศของอินทรชิต พิเภกกลับมาบอกพระรามว่า พระลักษมณ์ต้องศรนาคบาศแต่ยังไม่ตาย ให้พระรามแผลงศรพลายวาตไปเรียกพระยาครุฑมา เหล่าพญานาคก็จะหนีไป พระลักษมณ์และไพร่พลลิงก็จะฟื้น

หนุมานหักคอช้างเอราวัณ

เหล่ายักษ์เห็นพระลักษมณ์และไพร่พลลิงฟื้นขึ้น กลับมาทูลทศกรรฐ์ อินทรชิตจึงบอกว่า ที่ศรนาคบาศใช้ไม่ได้ผล ก็เพราะพิเภกบอกแก้กล คราวนี้จะไปชุบศรพรหมมาสตร์ที่ริมหาดมณีมรกต ได้ลาทศกรรฐ์ไปทำพิธีชุบศร โดยให้กำปั่นไปขัดตาทัพ ถูกหนุมานฆ่าตาย เมื่ออินทรชิตกลับมารบใหม่ ได้แปลงตัวเป็นพระอินทร์ เหล่ายักษ์แปลงเป็นเทวดา การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ เดินทัพมา

ฝ่ายพระลักษมณ์และเหล่าไพร่พลลิง เห็นพระอินทร์ขี่ช้างเอราวัณและเหล่าเทวดาเหาะอยู่บนอากาศ ก็พากันดูอย่างสงสัย อินทรชิตเห็นพระลักษมณ์และไพร่พลเผลอ ได้แผลงศรพรหมมาสตร์ลงมา ถูกพระลักษมณ์ องคต สุครีพ สิบแปดมงกุฎล้มลง เหลือเพียงหนุมาน หนุมานโกรธได้เหาะขึ้นไปหักคอช้างเอราวัณ แต่ถูกตีด้วยศรตกลงมาสลบ ฝ่ายพระรามเห็นค่ำแล้ว พระลักษมณ์และไพร่พลยังไม่กลับมา ออกไปตาม เห็นทุกคนตายกันหมด เสียใจมากจนสลบไป สารัณทุตที่คอยสังเกตการณ์ ได้กลับไปทูลทศกรรฐ์ ทศกรรฐ์ไปบอกนางสีดาว่า พระรามตายแล้ว นางสีดาเสียใจมาก แต่นางตรีชฎาเมียพิเภกที่เป็นข้ารับใช้อยู่บอกว่าอย่างเพิ่งเชื่อ ทศกรรฐ์จึงให้เสนาจัดบุษบกแก้วพานางสีดาไปดูศพ เมื่อมาถึงนางสีดาจึงเสี่ยงทายด้วยการขึ้นบุษบก บุษบกแก้วลอยขึ้น นางสีดาจึงรู้ว่าพระรามยังไม่ตาย จึงกลับไปสวนขวัญ ฝ่ายพิเภกกับพลลิงกลับจากไปหาผลไม้ไม่พบพระราม รู้ข่าวจากเสนาลิงจึงตามไปที่สนามรบ เห็นหนุมานรู้ว่าไม่ตาย ได้ร่ายเวทเป่าลมเข้าปากจนหนุมานฟื้น แล้วไปตามหาพระราม พิเภกทูลพระรามว่า ยาแก้ศรพรหมมาสตร์อยู่ที่เขาอาวุธบุพพวิเท่ห์ทวีป แต่มีจักรกรดพัดไม่หยุด ใครเข้าไปต้องตาย หากหนุมานไปเอา จักรจะหยุดตามที่พระอิศวรกำหนดไว้ หนุมานเหาะไปถึง และแจ้งเรื่องราวแก่เทวดา แต่เนื่องจากต้นยานั้น ตัดหรือถอนไม่ได้ตามคำสั่งของพระอิศวร หนุมานจึงช้อนเขาเหาะกลับมา เทวดาจึงบอกให้ไปวางไว้ทิศอุดร หนุมานทำตามคำสั่ง พอลมพัดพากลิ่นสรรพยาบนยอดเขามาถูกพระลักษมณ์และไพร่พลลิงทุกคนก็จะฟื้นขึ้น ฝ่ายอินทรชิตทูลทศกรรฐ์ว่า ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง พระลักษมณ์ถูกฆ่าถึงสองครั้ง ก็ยังฟื้นขึ้นมาได้ แต่ยังมีตำราศักดิ์สิทธิ์ ชื่อกุมภนิยา ทำได้เจ็ดวันตัวจะเป็นกายสิทธิ์ ฆ่าไม่ตาย โดยทำเป็นกลลวงให้ สุขาจารแปลงเป็นนางสีดาไปด้วยในสนามรบ แล้วให้ตัดคอนางเสีย ต่อกจากนั้นก็ทำทีว่าจะไปตีศรีอยุธยา แต่กลับอ้อมไปทำพิธี เมื่อถึงสนามรบอินทรชิตบอกพระลักษมณ์ให้มารับนางสีดา หากไม่มารับจะฆ่านาง พระลักษมณ์บอกให้อินทรชิตนำนางไปถวายพระรามเอง อินทรชิตจึงฆ่านาง แล้วทำทีเหาะไปยังกรุงศรีอยุธยา

พระลักษมณ์คิดว่านางสีดาตายก็เสียใจ กลับไปบอกพระราม พิเภกจับยามดูแล้วทูลว่า นางที่ตายเป็นยักษ์แปลง และอินทรชิตจะไปทำพิธีกุมภนิยา หากครบเจ็ดวันจะฆ่าไม่ตาย ต้องล้างพิธีก่อน แล้วอินทรชิตจะตายด้วยพระลักษมณ์ พระรามให้พระลักษมณ์พร้อมพิเภกคุมกองทัพไปทำลายพิธีอินทรชิตที่เนินเขาจักรวาล เกิดการต่อสู้กัน อินทรชิตแพ้ ขว้างจักรเมฆสูร เกิดหมอกควันบังแสงอาทิตย์แล้วหนีกลับไปกรุงลงกา

รุ่งขึ้นอิทนรชิตได้ยกทัพออกมารบอีก ต้องศรพลายวาตของพระลักษมณ์ ก่อนที่พระลักษมณ์จะแผลงศรพรหมมาสตร์ฆ่าอินทรชิต

พิเภกทูลว่า อินทรชิตนั้นได้พรจากพระว่า หากสิ้นชีวิตเศียรตกลงดิน จะเกิดเป็นไฟบัลลัยกัลป์ไหม้ทั่วจักรวาล ต้องเอาพานแว่นฟ้าของพระพรหมมารับ พระลักษมณ์จึงให้องคตไปขอพาน แว่นฟ้าจากพระพรหม เมื่อได้พานแล้ว พระลักษมณ์แผลงศรพรหมมาสตร์ตัดเศียรอินทรชิตขาด องคตเอาพานเข้าไปรองรับ ส่วนพระรามให้เอาพานใส่เศียรอินทรชิตไปชูไว้กลางอากาศ แล้วแผลงศรพรหมมาสตร์ทำลายเศียรนั้น

ทศกรรฐ์โกรธมากที่พระลักษมณ์ฆ่าอินทรชิตตาย จะไปฆ่านางสีดาที่สวนขวัญ แต่เปาวนาสูรทัดทานไว้ รุ่งขึ้นทศกรรฐ์จึงยกทัพไปรบกับพระราม พระรามสั่งให้สุครีพจัดทัพให้เข้มแข็งกว่าทุกครั้ง ส่วนพระอินทร์ให้พระวิศณุกรรมนำเวชยันต์ราชรถพร้อมม้าเทพบุตรแปลงสองพันตัวมาถวาย ฝ่ายทศกรรฐ์เสียสิบขุนทหารเอกกับสิบรถ โอรสของทศกรรฐ์ ในการรบครั้งนี้ทศกรรฐ์จึงบอกให้มารบกันใหม่วันรุ่งขึ้น
ศึกมูลพลัมและสหัสเดชะ
ฝ่ายทศกรรฐ์คิดขึ้นได้ว่า ควรจะให้มูลพลัม น้องชายของสหัสเดชะเจ้าเมืองปางตาลมาช่วยรบ จึงให้เปาวนาสูรถือสาสน์ไป มูลพลัมและสหัสเดชะรู้เรื่อง มาช่วยรบ ขณะยกทัพออกจากเมื่องเกิดลางร้าย ฟ้าผ่าถูกรถทรงทศกรรฐ์ มูลพลัมจึงให้ทศกรรฐ์กลับเข้าเมืองก่อน ส่วนตนและพี่ชายจะไปรบกับพระรามแทน พิเภกทูลพระรามว่ามูลพลัมและสหัสเดชะมีฤทธิ์มาก หนุมานคงสู้ไม่ได้ ให้พระรามออกไปรบเอง เมื่อพระราม และพระลักษมณ์คุมทัพออกไปรบ แต่ด้วยสหัสเดชะได้รับพรพระพรหมว่า หากเข้าต่อสู้กับศัตรูใด ศัตรูนั้นก็จะต้องเกรงกลัว ทำให้ไพร่พลลิงหนีไป พระรามจึงให้พระลักษมณ์ สุครีพหนุมาน และสิบแปดมงกุฎ กลับไปตามไพร่พลลิงมา ส่วนสหัสเดชะเห็นแต่พระรามและพิเภก จึงคิดว่าศัตรูมีกำลังเท่านี้ ทำไมทศกรรฐ์จึงปราบ ไม่ได้ ต้องเดือดร้อนถึงตน แล้วมาลวงว่าเป็นศึกใหญ่ จึงกลับไปยังลงกา คงเหลือแต่มูลพลัม ต่อมามูลพลัมต้องศรพลายวาตของพระลักษมณ์ตาย พิเภกทูกพระรามว่า หากสหัสเดชะรู้ว่ามูลพลัมตาย คงยกทัพมาแก้แค้น และสหัสเดชะนั้นมีฤทธิ์ด้วยกระบองวิเศษ เอาโคนชี้ถูกใครจะตาย เอาปลายชี้จะกลับฟื้นขึ้น ควรให้หนุมานไปเอากระบองวิเศษมา หนุมานแปลงเป็นลิงเผือกตัวเล็ก ไปคอยทัพสหัสเดชะ เมื่อเห็นทัพสหัสเดชะ แล้วทำเป็นวิ่งผ่าน สหัสเดชะโกรธ แต่หนุมานบอกว่า ตนเป็นข้ารับใช้พระยาพาลีที่เมืองขีดขิน ซึ่งถูกพระรามฆ่าตาย แล้วเอาตนมาใช้สอยตรากตรำข่มเหงจึงหนีมา กลัวถูกตามฆ่า จึงวิ่งผ่านหน้ามา สหัสเดชะเชื่อ จึงให้มานั่งหน้ารถด้วย

หนุมานขอไปนั่งหลังรถ แล้วร้องให้บอกสหัสเดชะว่า ตนคิดถึงญาติพี่น้องที่จะต้องมาตาย สหัสเดชะจึงบอกไม่ให้ไพร่พลฆ่าญาติของหนุมานตามที่กล่าวมา จากนั้นหนุมานจึงขออาวุธไว้ต่อสู้ สหัสเดชะจึงมอบกระบองไห้ไว้ เมื่อได้อาวุธแล้วหนุมานได้กลายร่างเดิม สหัสเดชะรู้ว่าหลงกลก็โกรธ ประนามหนุมาน หนุมานจึงย้อนว่า ” อันธรรมดาสงครามนั้นจะหาความสัตย์ได้ที่ไหน ใครมีอุบายเล่ห์กลก็จะนำมาใช้เพื่อให้ได้ชัยชนะ ” เข้าต่อสู้กับหนุมาน แพ้ถูกหนุมานเอาหางมัดตัวไว้ ต่อมาหนุมานใช้ตรีเพชรตัดหัวขาดตาย

ศึกแสงอาทิตย์

รุ่งขึ้นทศกรรฐ์ให้แสงอาทิตย์ลูกพระยาขร ที่มีแว่นแก้วสุรกานต์ส่องผู้ใดต้องตาย ยกทัพไปรบพร้อมกับจิตรไพรีผู้เป็นพี่เลี้ยง แต่แว่นนั้นอยู่ที่พระพรหม พิเภกทูลพระรามว่า เมื่อแสงอาทิตย์มารบก็จะให้จิตรไพรีขึ้นไปเอาแว่น พระรามได้ให้องคตแปลงเป็นจิตรไพรีไปเอาแว่นมา เมื่อแสงอาทิตย์รบกับพระราม เพลี่ยงพล้ำคิดว่า อาวุธทั้งหลายคงใช้ไม่ได้ ให้จิตรไพรีขึ้นไปเอาแว่นวิเศษจากพระพรหม พระพรหมว่ามาเอาไปแล้ว เหตุใดจึงขึ้นมาเอาอีก จิตไพรีกลับมาบอก แสงอาทิตย์รู้ว่าเสียทีแก่ศัตรู ภายหลังต้องศรพรหมมาสตร์ของพระรามตาย ทศกรรฐ์เกิดความมานะขึ้นว่า ตนก็มีฤทธิ์ปราบได้ถึงสวรรค์จะคอยพึ่งแต่ญาติก็อดสูใจ จึงยกทัพไปรบกับพระราม ไม่แพ้ไม่ชนะ เมื่อกลับเข้ากรุงลงกาแล้วก็คิดว่า แม้ว่าตนจะยกทัพไปรบกับพระรามเป็นครั้งที่สอง จนญาติวงศ์ยักษ์ที่อาสาการศึกตายไปเป็นจำนวนมาก แต่เอาชนะศัตรูไม่ได้ก็ท้อใจ นางมณโฑทูลให้ ท้าวสัตลุง และตรีเมฆลูกพระยาตรีเศียรไปรบ ท้าวสัตลุงถูกฆ่าตาย ส่วนตรีเมฆหนีไปบาดาล แต่พระยากาลนาคไม่ยอมให้อยู่ที่บาดาล ให้ไปอยู่ที่ท้องสมุทรเนินเขาจักรวาล โดยซ่อนอยู่ในเม็ดทราย
ทศกรรฐ์ทำพิธีอุโมงค์
พระรามให้หนุมานตามไปฆ่าตรีเมฆ ทศกรรฐ์เสียใจมาก นางมณโฑทูลให้ทศกรรฐ์ส่งนางสีดาคืน ทศกรรฐ์ไม่ยอม รุ่งขึ้นทศกรรฐ์ได้ให้เปาวนาสูรขุดอุโมงค์ใต้เขานิลกาฬ เพื่อทำพิธีชุบตัว ขณะทำพิธีให้เอาหินปิดปากอุโมงค์ และเอาทรายกลบไว้ เมื่อครบเจ็ดวันจึงค่อยเปิดปากอุโมงค์

ฝ่ายพระรามไม่เห็นยักษ์ยกทัพมา และรู้ว่าทศกรรฐ์ชุบตัวให้เป็นเพชรอยู่ยงคงกระพัน เอานิ้วชี้ใครต้องตาย ก็ให้สุครีพ หนุมาน นิลนน ไปทำลายพิธี เมื่อมาถึงอุโมงค์ไม่สามารถเปิดอุโมงค์ได้ กลับไปถามพิเภก พิเภกให้เอาน้ำล้างเท้าสตรีมาราด หนุมานไปหานางเบญจกาย เพื่อเอาน้ำล้างเท้าราดเปิดปากอุโมงค์ได้ ทศกรรฐ์ตกใจลืมตาขึ้นรู้ว่าถูกทำลายพิธี แต่ทศกรรฐ์สะกดใจไม่โกรธตอบ ทำพิธีต่อ หนุมานจึงไปอุ้มนางมณโฑมา แล้วแกล้งเย้าหยอกต่อหน้าทศกรรฐ์ ทศกรรฐ์ตบะแตกเลิกพิธี สามวานรก็เหาะกลับไปเขามรกต

ศึกสัทธาสูร และวิรุญจำบัง

หนุมานเหาะไปสุดเขาสัตภัณฑ์พบฟองน้ำใหญ่จึงจับไว้ วิรุญจำบังกลายเป็นรูปเดิมเข้าต่อสู้ แต่แพ้ได้แหวกน้ำไปอยู้ใต้ดินดาล หนุมานตามจนพบจับวิรุญจำบังฟาดกับเขาตาย

ท้าวมาลีวราชว่าความ

ทศกรรฐ์แค้นใจมาก คิดถึงท้าวมาลีวราชผู้เป็นปู่ ซึ่งมีวาจาประกาศิต และมีความเที่ยงธรรม ที่ภูเขายอดฟ้า ควรจะเชิญมาลงกาและกล่าวโทษพระรามพระลักษมณ์ เมื่อท้าวมาลีวราชเชื่อพระรามพระลักษมณ์จะแพ้ พร้อมกับให้นนยวิกและวายุเวกไปเชิญท้าวมาลีวราชมา ท้าวมาลีวราชมีความสงสัย จึงถามนนยวิกวายุเวก นนยวิกและวายุเวก จึงเล่าตามคำเสี้ยมสอนของทศกรรฐ์ พร้อมกับว่าทั้งสองคนเป็นมนุษย์มีฤทธิ์อำนาจด้านการใช้ศร ได้คุมพลลิงจองถนนข้ามไปลงกา แล้วอ้างเป็นสามีนางสีดามาฆ่าเหล่ายักษ์

เมื่อเห็นว่าคำให้การของพระรามและนางสีดาสอดคล้องกัน รวมทั้งเหล่าเทวดาในที่นั่นก็ยืนยันว่าเป็นสัตย์จริง แต่ทศกรรฐ์ได้ทูลว่า เหล่าเทวดาทั้งหลายเกลียดชังตน และที่พระรามมาก่อสงครามที่เมืองยักษ์นั้น พระอินทร์ยังประทานรถเวชยันต์พร้อมพระมาตุลีให้ เมื่อมาเป็นพยานก็คงจะต้องดลใจให้นางสีดาพูดตามพระราม ท้าวมาลีวราชโกรธทศกรรฐ์ที่โกหก จึงให้ส่งนางสีดาคืน ทศกรรฐ์ไม่ยอมคืนนางสีดา ยกทัพกลับลงกาโดยไม่ไหว้ลาท้าวมาลีวราช ด้วยความแค้นที่ได้กล่าวประจานตนให้อับอาย
พิธีชุบหอกกบิลพัท
เมื่อแผนการจะให้ท่าวมาลีวราชเข้าข้างตนไม่สำเร็จ จึงคิดจะทำพิธีเผารูปเทวดาและชุบหอกกบิลพัท ซึ่งหากสำเร็จก็จะเหนือกว่าอาวุธใด ๆ ทั้งสามโลก แล้วได้ให้เหล่าเสนายักษ์ ไปตั้งโรงพิธีที่ใกล้เชิงเขาพระเมรุแล้วทำพิธีปั้นรูปเหล่าเทวดา ที่มาเป็นพยานคราวที่ท้าวมาลีวราชว่าความและเผา ทำให้เหล่าเทวดานั้นรุ่มร้อนคล้ายถูกไฟบัลลัยกัลป์ เมื่อพระอิศวร รู้ข่าวจากพระอินทร์ ได้ให้เทพบุตรพาลีลงไปทำลายพิธีจนสำเร็จ

ทศกรรฐ์คิดว่า การที่ตนทำพิธีใดก็ถูกทำลายหมด เป็นเพราะพิเภกบอกการแก้กลจากข้าศึก ก็จะออกไปรบและฆ่าพิเภกด้วยหอกกบิลพัท พิเภกรู้ว่าทศกรรฐ์คิดว่าตนบอกกลลวงไปทำลายพิธีเผารูปเทวดาและชุบหอกกบิลพัทและจะตามมาฆ่า ก็ทูลแก่พระราม พระรามให้พระลักษมณ์คอยเฝ้าดูแลพิเภก ขณะที่พระรามกำลังสู้รบกับทศกรรฐ์ ฝ่ายทศกรรฐ์รบพลางคอยมองลู่ทางสังหารพิเภกไปด้วย เมื่อมีช่องทางก็พุ่งหอกหมายฆ่าพิเภก พระลักษมณ์ปัดได้ แต่หอกได้กลับมาปักอกตนเองแทนจนสลบไป พิเภกทูลพระรามว่าวิธีแก้หอกกบิลพัทชื่อว่าต้นสังกรณีกับตรีชวา ที่ภูเขาสัญชีพสัญญี มูลวัวพระอิศวรที่ถ้ำอินทกาล หินรองบดยาที่เมืองบาดาล แต่หินแท่งบดยานั้นทศกรรฐ์ใช้เป็นหมอน พระรามสั่งให้หนุมานไปนำมา หนุมานได้มาทุกอย่างแล้ว เว้นหินบดยา จึงไปยังลงกา ร่ายพระเวท ให้เหล่ายักษ์หลับ แล้วเข้าไปในปราสาท เห็นทศกรรฐ์นอนอยู่กับนางมณโฑ ได้เอาผมนางมณโฑผูกติดกับเศียรทศกรรฐ์ พร้อมกับเขียนคำสาปไว้ที่หน้าผากทศกรรฐ์ว่า หากจะแก้ผมให้หลุดต้องให้นางมณโฑตบหัวสามที

ทศกรรฐ์ตื่นขึ้นมาเห็นผมนางผูกติดกับเศียรตน และหินบดยาหายไป ก็รู้ว่าศัตรูมาสะกดแล้วลักไปและผมก็ไม่หลุด จึงให้เสนาไปนิมนต์ฤาษีโคบุตรมา ฤาษีเห็นคำสาปจารึกไว้ จึงบอกให้ทำตามคำสาป ดังนั้นเมื่อนางมณโฑตบหัวทศกรรฐ์สามครั้งผมก็หลุด

ศึกทัพนาสูร

ทศกรฐ์แค้นใจมากได้ไปขอให้ทัพนาสูร น้องร่วมบิดามาช่วยรบ ทัพนาสูรเนรมิตตัวใหญ่โต แทรกลงดินจนถึงหน้าอก อ้าปากให้ปากล่างอยู่บนดิน แลบลิ้นบังดวงอาทิตย์ไว้ เอาแขนโอบพลลิง เหล่าพลลิงตกใจที่ท้องฟ้ามืดในทันที ก็วิ่งกันวุ่นวายเข้าปากทัพนาสูร ทัพนาสูรจึงกลืนกินเข้าไปทั้งหมด พิเภกทูลพระรามถึงเรื่องทั้งหมด และบอกให้พระรามส่งคนไปตัดมือทัพนาสูรเสีย พระรามให้สุครีพไป เมื่อสุครีพตัดมือทัพนาสูรแล้วฟ้าจึงสว่างขึ้น แล้วพระรามแผลงศรพรหมมาสตร์ต้องทัพนาสูรตาย แต่บรรดาวานรที่ถูกทัพนาสูรกลืนกินเข้าไป แม้ถูกลมพัดมาต้องกายก็ไม่ฟื้นเหมือนเคย พิเภกจึงทูลให้พระรามแผลงศรไปให้พระอินทรได้ยิน และเอาน้ำทิพย์มาพรมบนศพพวกวานรทั้งหมดจึงกลับฟื้นคืนชีพ

นางมณโฑหุงน้ำทิพย์

ทศกรรฐ์รู้ว่าทัพนาสูรตายก็เสียใจมาก ไปปรึกษานางมณโฑ นางมณโฑคิดถึงพิธีหุงน้ำทิพย์ที่พระอุมาเคยสอนไว้ หากใครกินน้ำนี้จะไม่ตาย ทศกรรฐ์จึงให้นางมณโฑทำพิธี ฝ่ายทศคีรีวันและทศคีรีธร ลูกทศกรรฐ์กับนางช้างในป่าหิมพานต์ มาเยี่ยมทศกรรฐ์ในเวลาที่นางมณโฑทำพิธีสัญชีพหุงน้ำทิพย์ รู้เรื่องก็อาสาออกรบ ทั้งสองต้องศรพระลักษมณ์ตาย ทศกรรฐ์จึงให้ฤทธิกาลรบหน่วงเวลาไว้ รอพิธีหุงน้ำทิพย์เสร็จ เมื่อครบกำหนดเจ็ดวัน นางมณโฑทำพิธีหุงน้ำทิพย์สำเร็จ ให้เสนานำไปมอบให้ทศกรรฐ์นำไปพรมบนร่างเหล่ายักษ์ที่ตาย ก็กลายเป็นปีศาจยักษ์ขึ้นมาต่อสู้ พระรามเกิดความสงสัย พิเภกทูลว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะน้ำทิพย์ของนางมณโฑ แต่มีวิธีแก้คือ ระหว่างนางทำพิธีห้ามร่วมหลับนอน ขอให้ส่งนายทหารผู้มีฤทธิ์ไปทำลายพิธี ระหว่างนี้ให้พระรามแผลงศรเป็นข่ายเพชรกั้นเหล่าปีศาจไว้อย่าให้ออกมาสู้รบได้ พระรามได้ให้หนุมานพานิลนนท์กับชมพูพาน พาไพร่พลลิงไปทำลายพิธี หนุมานจึงแปลงเป็นทศกรรฐ์ นิลนนท์เป็นช้างทรงของทศกรรฐ์ ชมพูพานเป็นการุณราชควาญท้าย เหล่าไพร่พลแปลงเป็นพลยักษ์ยกทัพเข้าลงกา เมื่อถึงแล้วหนุมานแปลงทำเป็นดีใจพานางมณโฑไปร่วมหลับนอนด้วย ส่วนชมพูพานได้พาไพร่พลลิงไปทำลายโรงพิธี
หนุมานก่อน หากทรยศจริงจะฆ่าเสียให้ตาย

ทศกรรณ์สั่งเมือง

รุ่งขึ้นหนุมานจึงขอให้ทศกรรฐ์ยกทัพไปเป็นประธาน ส่วนตนเองจะออกรบเอง เมื่อถึงสนามรบแล้ว ได้บอกทศกรรฐ์ว่า ให้ทศกรรฐ์ตั้งทัพไว้ เมื่อเห็นตนเหาะไปสูงสามโยชน์เมื่อใด ให้ยกทัพเข้าตี แล้วหนุมานก็กำบังกายเหาะไปที่ทัพพระราม แล้วถวายกล่องดวงใจ แล้วทูลให้รีบฆ่าทศกรรฐ์เสีย แล้วเหาะกลับไปหา ชูกล่องดวงใจให้ดู ทศกรรฐ์จึงรู้ว่าเสียรู้หนุมาน จึงบอกหนุมานว่าจะกลับไปสั่งเสียก่อน แล้วจะมารบวันรุ่งขึ้น จงไปทูลแก่พระรามด้วย วันรุ่งขึ้นทศกรรฐ์ได้ยกทัพไปรบกับพระราม แล้วต้องศรพรหมมาสตร์ของพระรามตาย พิเภกได้เชิญพระศพทศกรรฐ์เข้าลงกา แล้วเชิญนางสีดา นางมณโฑ มาเฝ้าพระรามที่ค่ายทัพพลับพลาเขามรกต แต่นางสีดาคิดว่า การจะไปเฝ้าพระรามที่ได้จากกันนานถึงสิบสี่ปี โดยตกอยู่ในเมืองลงกา แม้ว่าจะไม่มัวหมองแต่พระรามก็จะเคลือบแคลงสงสัยได้ แต่พิเภกทูลให้คลายกังวล นางสีดาจึงยอมไปเฝ้าพระราม แต่อยู่ห่าง ๆ

สีดาลุยไฟ

ฝ่ายพระรามเมื่อเห็นนางสีดาก็ดีใจมาก ได้พูดกับนางสีดาว่า อยู่กับทศกรรฐ์มานาน ไม่มีใครรู้ว่านางยังบริสุทธิ์อยู่หรือไม่ นางสีดาจึงขอลุยไฟต่อหน้าพระรามและเหล่าเทวดา แสดงความบริสุทธิ์ พระรามได้ให้สุครีพนำเชื้อไฟมากองไว้หน้าพลับพลาต่อหน้าเหล่าเทวดา แล้วทรงแผลงศรเป็นไฟลุกขึ้น ก่อนลุยไฟนางสีดาตั้งสัตย์อธิษฐานว่า หากนางซื่อสัตย์ต่อสามีขออย่าให้มีความร้อน แล้วจึงลงไปมีดอกบัวบานผุดขึ้นรองรับทุกก้าว พระรามให้พิเภกไปครองลงกา ต่อมานางมณโฑได้เป็นเมียพิเภกด้วย เมื่อปลงศพทศกรรฐ์แล้วได้ทูลเชิญพระราม พระลักษมณ์และนางสีดา เข้ามาพักยังลงกา
ศึกอัศกรรณ
ฝ่ายไวยกาสูรกับนิลกายสูร เสนายักษ์ของทศคิริวันกับทศคิริธรได้กลับไปทูลท้าวอัศกรรณ ที่กรุงจักรวาล ว่าบุตรบุญธรรมทั้งสองตายแล้ว ท้าวอัศกรรณเสียใจมากจึงยกทัพไปรบ พระรามยกทัพไปรบ แต่ไม่สามารถฆ่าอัศกรรณได้ เพราะเมื่อต้องศรพระรามขาดคราวใด ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า พิเภกทูลว่า อัศกรรณได้พรจากพระอิศวรว่าเมื่อใดอัศกรรณตาย ต้องนำซากไปทิ้งมหาสมุทร จึงจะไม่ฟื้นขึ้น พระรามจึงแผลงศรพรหมมาสตร์ ตัดอัศกรรณออกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย แล้วบันดาลเป็นลมกรดพาไปทิ้งมหาสมุทร

เมื่อเสร็จศึกแล้ว พระมาตุลีก็ลากลับไป พระรามบอกพิเภกว่าจะกลับคืนยังกรุงศรีอยุธยา เพราะรับปากกับท้าวทศรถพระราชบิดาไว้ว่า ครบสิบสี่ปีเมื่อใดจะกลับไปครองเมืองและหากเกินเวลาพระพรตกับพระสัตรุต จะฆ่าตัวตายด้วยการลุยไฟ พิเภกขอตามไปด้วย พร้อมกับทูลว่า เมื่อพระรามข้ามฝั่งไปแล้ว ควรจะทำลายถนน เพื่อเหล่ายักษ์จะได้ใช้มหาสมุทรเพื่อสัญจรต่อไป เมื่อข้ามไปแล้ว พระรามจึงแผลงศรพลายวาต ทำลายถนนที่ข้ามไปลงกาเสีย แล้วเดินทางไปพักทัพที่ป่าบริเวณเขาเหมติรัน

ศึกบรรลัยกัลป์

ฝ่ายยักษ์ชื่อบรรลัยกัลป์ ลูกทศกรรฐ์และนางอัคคี ซึ่งพญานาคผู้เป็นตานำไปเลี้ยงไว้ เกิดลางร้ายคิดถึงทศกรรฐ์ผู้เป็นพ่อขึ้นมา ได้ขึ้นมาเยี่ยมรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากนางอัคคีผู้เป็นมารดาก็โกรธ รีบเหาะตามทัพพระรามไป เมื่อพระรามได้ยินเสียงกึกก้องก็ถามพิเภก รู้ว่าบรรลัยกัลป์ตามมาล้างแค้นแทนทศกรรฐ์ ก็ให้หนุมานไปฆ่าแล้วตัดหัวมาให้ หนุมานออกอุบายแปลงเป็นควายใหญ่ติดหล่มอยู่ บรรลัยกัลป์ผ่านมาพบ หลงกลหนุมานได้เข้าต่อสู้กันหนุมาน บรรลัยกัลป์ตัวลื่น จึงไปถามฤาษีพระทิศไพมุนี พระฤาษีบอกใบ้ให้เอาทรายซัดจึงจะจับได้ หนุมานจึงฆ่าบรรลัยกัลป์ตาย

ต่อมาพระรามได้เดินทางไปพักที่เมืองขีดขิน ตามคำทูลเชิญของสุครีพและนิลพัท แล้วเดินทางต่อไปยังอาศรมของฤาษีวสิษฐ์และสวามิตร โดยมีสุครีพตามไปด้วย และพระรามได้พบกับนายพรานกุขันที่นี่ด้วย และได้รู้ว่าสามพระมารดากับสองพระอนุชาเศร้าโศกมาก จึงให้หนุมานกับนายพรานกุขัน ล่วงหน้าไปทูลเรื่องราวในเมืองก่อน

พระรามคืนเมืองขึ้นครองราชย์ ปูนบำเหน็จ

ฝ่ายพระพรตและพระสัตรุตเห็นว่าครบกำหนดสิบสี่ปีแล้ว พระราม พระลักษมณ์ และนางสีดา ยังไม่เสด็จกลับ ก็ไปทูลมารดาลาไปปลงพระชนม์ โดยการลุยไฟตามที่ได้ปฏิญาณไว้ หนุมานกับกุขันก็มาถึงก่อนได้เข้าไปห้ามไว้ หลังจากรู้เรื่องราวทั้งหมดแล้ว ก็พาพระมารดาไปพบกับพระราม พระลักษมณ์ และนางสีดา ที่อาศรมฤาษี แล้วทูลเชิญเข้าไปครองเมือง

ต่อมาได้จัดพิธีอภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ โดยมีพระอินทร์เหล่าเทวดาและบรรดาเหล่าฤาษีมาเป็นเกียรติ แล้วพระรามได้ออกขุนนางปูนบำเหน็จความดีความชอบของเหล่าทหาร พระลักษมณ์ให้ครองเมืองโรมคัล พระพรตและพระสัตรุต ให้เป็นอุปราชอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

หนุมานแบ่งกรุงศรีอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แล้วตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพระยาอนุชิต สุครีพนั้นให้มีชื่อว่า พระยาไวยวงศา ครองเมืองขีดขิน พิเภกให้ชื่อว่า ท้าวทศคิริวงศ์ ไปครองเมืองลงกา องคตให้ชื่อว่า พระยาอินทรนุภาพศักดา เป็นฝ่ายหน้าเมืองขีดขิน ชมพูพานให้ไปครองเมืองปางตาล สุรเสนไปครองเมืองสัทธาสูร ชมพูวราช นิลราช นิลนนท์ เป็นอุปราชทั้งหมด โดยให้ชมพูวราชเป็นฝ่ายหน้าเมืองปางตาล นิลราชเป็นฝ่ายหน้าเมืองอัสดงค์ นิลนนท์เป็นอุปราชเมืองชมพู ไชยามและโคมุท เป็นมหาเสนาซ้ายขวาที่เมืองขีดขิน สัตพลีให้เป็นอาลักษณ์ ส่วนพลลิงอื่น ๆ ก็ให้ยศฐาบรรดาศักดิ์ตามสมควร

ฝ่ายหนุมานทูลคัดค้านว่า เมืองโรมคัลเป็นเมืองยักษ์ ไม่ควรให้พระลักษมณ์ไปครอง แต่ควรจะอยู่ใกล้ชิดพระรามจะดีกว่า ส่วนพระพรตกับพระสัตรุต นั้นควรจะให้ไปอยู่ที่เมืองไกยเกษ พระรามเห็นด้วย ได้ให้สุรกานต์ไปครองเมืองโรมคัล แล้วให้ศรรามเป็นมหาอุปราช กุขันพรานป่าให้เป็นพระยากุขันธิบดินทร์ ครองบุรีรัม สำหรับพิเภกนั้นเป็นผู้ไม่มีความชำนาญการรบและไม่มีฤทธิ์ หากมีศัตรูมารุกราน ให้เขียนสาสน์แขวนศรมา เมื่อพระรามแผลงศรมาถามข่าว
หนุมาณครองเมือง
ฝ่ายหนุมานเมื่อได้ครองอยุธยาครึ่งหนึ่ง ก็มีความสุขดี แต่เมื่อใดต้องขึ้นนั่งบัลลังก์ออกขุนนาง จะรู้สึกเร่าร้อน เวียนหัว ปวดหัว ก็คิดว่าเป็น เพราะตีตนเสมอพระรามทำให้เกิดวิปริต ได้เข้าเฝ้าพระรามถวายอยุธยาคืน พระรามจึงแผลงศรให้หนุมานตามไปดูว่าตกลงที่ใด จะยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ให้ ศรนั้นไปตกบนเขาใหญ่เก้ายอด หนุมานแผลงฤทธิ์เอาหางกวาดจนเกิดเป็นกำแพงหินล้อมรอบบริเวณนั้น แล้วจึงกลับมาทูลพระรามทุกอย่าง พระรามจึงว่าให้ตามไปดูเท่านั้น ทำไมทำเกินคำสั่ง แต่เนื่องจากมีความชอบมาก ก็จะให้เทวดาไปสร้างเมืองให้

ต่อมาพระอินทร์ให้พระวิษณุกรรม ลงมาสร้างเมืองให้หนุมาน แล้วพระรามประทานชื่อเมืองว่า นพบุรี รวมทั้งแบ่งสมบัติจากกรุงศรีอยุธยา ม้า พล เสนา ให้ครึ่งหนึ่งตามที่ได้เคยปฏิญาณไว้

ศึกมหาบาล

ฝ่ายยักษ์ชื่อท้าวมหาบาล เจ้าเมืองจักรวาล เพื่อนสนิทของทศกรรฐ์ เกิดความคิดถึงทศกรรฐ์ขึ้นมาได้ยกทัพมาตั้งที่หน้าด่านลงกา รู้ข่าวทศกรรฐ์ก็โกรธแค้น ให้เสนาไปเรียกพิเภกมาพบที่หน้าด่าน แต่พิเภกรู้ว่าเป็นพวกพาลไม่ยอมออกไป เมื่อดูดวงตนรู้ว่ามีเคราะห์หนัก แต่จะมีคนช่วยเหลือไม่ถึงตาย และใกล้เวลาที่พระรามจะแผลงศรมาถามข่าวคราวแล้ว จึงให้เปาวนาสูรนำไพร่พลรักษาเมืองไว้ให้เข้มแข็ง พระรามได้เกิดฝันประหลาด จึงคิดถึงพิเภก ได้แผลงศรพาลจันทร์ไปถามข่าว เมื่อพิเภกกราบศรแล้วผูกสาสน์กลับมา จึงรู้ว่าลงกาเกิดศึกใหญ่ พระรามให้หนุมานไปช่วยรบที่ลงกา พิเภกจึงว่าหากตนไม่ออกไปรบ ท้าวมหาบาลก็จะหมิ่นเอาได้ และยังเป็นพระเกียรติแก่พระรามด้วย หากพลาดพลั้งให้หนุมานช่วย ระหว่างรบกันพิเภกเพลี่ยงพล้ำ หนุมานจึงลงจากกลีบเมฆมาช่วย แต่ไม่สามารถฆ่าท้าวมหาบาลได้ พิเภกบอกว่า ท้าวมหาบาลได้พรจากพระอิศวร หากจะฆ่าต้องแหวะเอาดวงใจมาขยี้ให้แผลก หนุมานจึงควักเอาดวงใจท้าวมหาบาลออกมาขยี้ ท้าวมหาบาลจึงตาย และพลยักษ์ได้ตกเป็นเชลยของลงกา เมื่อเสร็จศึก พิเภกเชิญหนุมานไปหานางเบญจกาย ส่วนเมืองจักรวาลที่ขาดคนปกครอง พิเภกให้เปาวนาสูรไปครอง จากนั้นหนุมานและพิเภกจึงไปเฝ้าพระราม ทูลเรื่องราวทั้งหมด

กำเนิดไพนาสุริยวงศ์ และอสุรผัด

ต่อมานางมณโฑประสูติโอรสชื่อ ไพนาสุริยวงศ์ ซึ่งเกิดจากทศกรรฐ์ พิเภกนึกว่าเป็นลูกตนก็หลงรัก ส่วนนางเบญจกายได้ประสูติโอรสหน้าเป็น ลิง มือและเท้าเป็นยักษ์ ชื่ออสุรผัด วันหนึ่งหนุมานได้ยกทัพน้อยไปเที่ยวสวน ได้กระโจนปีนป่ายตามวิสัยทำให้นางกำนัลขบขัน ทำให้หนุมานรู้สึกอับอายที่ตนทำตัวไม่เหมาะสม คิดจะออกบวช จึงไปเฝ้าพระรามเพื่อทูลลาไปบวช กับฤาษีพระทิศไพ

วันหนึ่งไพนาสุริยวงศ์ ไปเที่ยวเล่นในสวนกับพี่เลี้ยงชื่อ วรณีสูร เมื่อไปถึงพลับพลาที่ทศกรรฐ์เคยประทับ วรณีสูรคิดถึงทศกรรฐ์ก็ร้องไห้ ไพนาสุริยวงศ์สงสัย วรณีสูรเล่าให้ฟังทั้งยังบอกว่าไม่ใช่ลูกพิเภก ไพนาสุริยวงศ์ได้กลับมาถามนางมณโฑอีก เมื่อรู้ความจริงก็โกรธคิดจะไปหาท้าวจักรวรรดิ์ที่เมืองมลิวัน จึงหลอกพิเภกว่าจะไปเรียนวิชาที่สำนักพระกาลฤาษี แต่ที่จริงจะเรียนวิชาผ่านด่านเพลิงน้ำกรด ไปเมืองมลิวัน เมื่อเรียนจบ ก็เดินทางไปเมืองมลิวัน และผ่านด่านทั้งสองไปได้ หลังจากที่เล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวจักรวรรดิ์ฟัง ท้าวจักรวรรดิ์โกรธยกทัพมาลงกา เมื่อถึงลงกา ไพนาสุริยวงศ์ ได้บอกว่าพวกตนจะเข้าเมืองก่อน เพื่อไม่ให้พิเภกสงสัย
ศึกท้าวจักรวรรดิ์
ฝ่ายท้าวจักรวรรดิ์เมื่อถึงด่านลงกา ก็ให้วิษณุราชกับนนทการ ไปทูลพิเภกให้ออกมา พิเภกจัดทัพออกไปรบ แต่เพลี่ยงพล้ำถูกท้าวจักรวรรดิ์ แผลงศรเป็นพญานาคตัวใหญ่ รัดพิเภกไว้ เมื่อไพนาสุริยวงศ์รู้ว่าพิเภกถูกจับ ก็มาขอชีวิตว่า พิเภกได้เลี้ยงดูตนมา ท้าวจักรวรรดิ์ยกโทษให้แต่ขอทรมานพิเภกก่อน โดยจับใส่ตรุขังไว้ จากนั้นได้ตั้งให้ไพนาสุริยวงศ์ครองลงกาแทน แล้วตั้งนามใหม่ให้ว่า ท้าวทศพิน พร้อมทั้งมอบศรบรรลัยจักรวาลให้ด้วย

ฝ่ายอสุรผัดรู้ว่าตาของตนถูกจำตรุ ก็เสียใจไปขอโทษแทนตากับทศพิน ท้าวจักรวรรดิ์ไม่ยอมไล่ออกมา นางเบญจกายให้อสุรผัดไปตามหาหนุมานผู้เป็นพ่อที่ออกบวช แล้วค่อยไปทูลพระราม อสุรผัดเหาะไปตามกับฤาษีที่เขามณฑป เมื่อพบหนุมานก็ไม่รู้จัก หนุมานจึงกลับร่างเดิม แล้วแผลงฤทธิ์พร้อมกับหาวเป็นดาวเป็นเดือน อสุรผัดจึงเล่าเรื่องให้ฟัง หนุมานโกรธมากพาอสุรผัดไปพบสุครีพที่นครขีดขิน สุครีพให้หนุมานพาอสุรผัดไปพบพระรามก่อน แล้วตนกับท้าวชมพูจะยกพลตามไป เมื่อพระรามรู้เรื่องจากหนุมานก็ให้ไปเกณฑ์ทัพเมืองขีดขินกับเมืองชมพูมา หนุมานจึงบอกว่ากำลังยกมา แล้วให้เสนาไปเมืองไกยเกษ บอกพระพรตและพระสัตรุตไปช่วยรบ โดยให้มาพร้อมกันที่ศรีอยุธยา ฝ่ายท้าวชมพูได้ให้นิลพัทคุมทัพเมืองชมพู แก้ตัวกับพระรามในความผิดครั้งก่อน

พระรามสั่งให้พระพรตและพระสัตรุต นำทัพทั้งหมดพร้อมกับสุครีพ หนุมาน องคต และสิบแปดมงกุฎ ไปตีเมืองลงกาและเมืองมลิวัน พระรามประทานศรพรหมมาสตร์และเกราะเพชรแก่พระพรต พระลักษมณ์ประทานศรจันทรวาทิตย์กับเกราะแก้วของพระอินทร์ให้พระสัตรุต แล้วพระพรตกับพระสัตรุตก็คุมทัพไปถึงเขาคันธกาล นิลพัทขอเอาตัวทอดข้ามมหาสมุทร เพื่อให้ทัพผ่านเข้าลงกา แล้วไปตั้งทัพที่เขามรกต

ศึกทศพิน

เมื่อตั้งทัพแล้ว พระพรตให้ชมพูพานถือสาสน์ไปบอกให้ท้าวทศพินออกมา ทศพินไม่ยอมกลับด่าว่าชมพูพาน ชมพูพานได้ทำร้ายทศพินจนบาดเจ็บ แล้วกลับมาทูลพระพรต ฝ่ายยามลิวันกับกันยุเวก โอรสอินทรชิตกับนางสุวรรณกันยุมา รู้ว่าทศพินจะไปรบแล้วจะให้พวกตนไปด้วยก็กลัวนางสุวรรณกันยุมาจึงบอกให้หนีไปถวายตัวกับพระพรต

รุ่งขึ้นท้าวทศพินยกทัพไปรบ พระพรตให้อสุรผัดออกรบ ทศพินกับวรณีสูรแพ้ถูกจับได้ พระพรตให้นำทั้งสองตระเวนน้ำตระเวนบก แล้วตัดหัวเสียบไว้ที่ประตูเมือง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเยี่ยงอย่าง แล้วให้อสุรผัดไปปล่อยพิเภก
ตีเมืองมลิวัน
เมื่อฆ่าทศพินแล้ว พระพรตให้ยกทัพไปตีเมืองมลิวัน พิเภกทูลว่าทางไปเมืองมลิวันเป็นทางทุรกันดาร และยังมีด่านถึงสองด่านคือ ด่านไฟกรดและน้ำกรด หนุมานได้อาสาหักด่าน เมื่อไปถึงด่านแรกคือ ด่านเพลิงกาฬ หนุมานเห็นยักษ์ชื่อมัฆวาน กำลังคุมพลเก้าโกฎิทำพิธีไฟลุกโหมช่วงโชติร้อนแรง หนุมานแปลงกายใหญ่โตเข้าต่อสู้และฆ่ามัฆวานตายไฟจึงดับ ถึงด่านที่สองคือด่านน้ำกรด เห็นยักษ์ชื่อกาลสูรนั่งบริกรรมคาถาเรียกพญานาคมาพ่นพิษ เป็นควันมีน้ำกรดไหลไม่ขาดสาย จึงแปลงกายเป็นครุฑเข้าต่อสู้ และจับกาลสูรขว้างไปยังเขาจักรวาลตาย เมื่อหักด่านได้แล้ว พระพรตได้ให้ยกทัพไปตั้งที่เชิงเขามยุราตามคำแนะนำของพิเภก

ฝ่ายท้าวจักรวรรดิ์รู้ว่าข้าศึกหักด่านมาถึงเมือง ได้ให้จัดทัพเตรียมไว้ พระพรตให้นิลนนท์ถือสาสน์ไปบอกว่าหากกลัวตายให้ออกมาตั้งสัตย์ต่อศรพรหมมาสตร์ก็จะยกโทษให้ ท้าวจักรวรรดิ์ไม่ยอมกลับให้โอรสชื่อ สุริยาภพยกทัพออกมารบ พระพรตให้พระสัตรุตไปรบ พระสัตรุตต้องหอกเมฆพัทของสุริยาภพสลบลง พิเภกทูลพระพรตว่ายาแก้ฤทธิ์หอกคือจันทน์แดงกับมูลวัวอุศภราชที่ถ้ำเขาอินทกาล แท่นหินที่ชั้นพรหม และลูกหินที่เมืองพญานาค พระพรตให้นิลพัทไปเอา เมื่อบดยาทาแผลหอก พระสัตรุตก็ฟื้น

ศึกสุริยาภพ บรรลัยจักรและนนยุพักตร์

เมื่อท้าวจักรวรรดิ์รู้ว่าพระสัตรุตฟื้นขึ้น ก็ให้สุริยาภพออกมารบอีก พระพรตและพระสัตรุตออกรบ สุริยาภพต้องศรพรหมมาสตร์ตาย ท้าวจักรวรรดิ์ ให้โอรสอีกคนหนึ่งชื่อ บรรลัยจักรไปรบแต่สู้ไม่ได้ เมื่อพลบค่ำจึงขอหย่าศึกแล้วจะไปรบในวัยรุ่งขึ้น เมื่อเข้าเมืองแล้ว ได้ทูลท้าวจักรวรรดิ์ว่าศัตรูมีกำลังเข้มแข็งและมีฤทธิ์ไม่ควรประมาท จึงจะไปชุบศรเหราพตที่เนินเขาจักรวาล ท้าวจักรวรรดิ์เห็นดีด้วย ได้ให้ยักษ์ชื่อกระบิล ยกทัพไปขัดตาทัพไว้ก่อน พระพรตให้นิลพัทออกรบ

ต่อมาได้ฆ่ากระบิลตาย พร้อมกันนี้พระพรตได้สั่งให้องคตกับอสุรฟัด ไปทำลายพิธีชุบศรเหราพตของบรรลัยจักร บรรลัยจักรบอกว่าถึงแม้จะชุบศรไม่สำเร็จก็จะขอออกรบ พระพรตกับพระสัตรุตออกรบกับบรรลัยจักร บรรลัยจักรเอาจักรกรดเมฆฏสูรขว้างไป เกิดเป็นหมอกควันบังดวงอาทิตย์ แล้วได้แผลงศรเหราพตเป็นจระเข้พันหัวพ่นพิษรัดกายพระสัตรุตแล้วพาไปฝากไว้กับราหู

พิเภกทูลพระพรตว่าเป็นเพราะจักรกรดเมฆสูรของบรรลัยจักร ให้แผลงศรพรหมมาสตร์ไป เมื่อฟ้าสว่างแล้วไม่เห็นพระสัตรุต ก็ให้สุครีพ หนุมาน องคต นิลพัท ไปตามชิงตัวกลับมา เมื่อทั้งสี่ตามไปพบราหู จึงต่อสู้กัน ชิงตัวพระสัตรุตกลับมาได้ ส่วนราหูหนีเข้าเมือง แต่ถูกบรรลัยจักรสั่งให้ตัดหัวเสียบประจาน เพื่อไม่ให้ยักษ์อื่น ๆ เอาเยี่ยงอย่าง รุ่งขึ้นบรรลัยจักรออกรบอีก ต้องศรพรหมมาสตร์ของพระพรตตาย ท้าวจักรวรรดิ์เสียใจและแค้นใจมาก ยกทัพออกไปรบเอง ไม่แพ้ไม่ชนะ จนพลบค่ำจึงขอหย่าศึก

ฝ่ายนนยุพักตร์น้องของบรรลัยจักร ซึ่งลาท้าวจักรวรรดิ์ไปบำเพ็ญตบะในป่า เพื่อขอประทานเทพอาวุธจากพระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ แต่ยังไม่สำเร็จ เกิดความร้อนรุ่ม จึงคิดว่าคงจะเกิดเหตุก็กลับไปเมืองมลิวัน เมื่อรู้ข่าวพี่ชายก็เสียใจและโกรธแค้น อาสาออกรบ พระพรตให้พระสัตรุต ออกมารบ ระหว่างรบกันนนยุพักตร์ต้องศรพรหมมาสตร์ตาย
ศึกท้าวไวยตาล
ท้าวจักรวรรดิ์แค้นมาก ยกทัพออกมารบเป็นครั้งที่สอง แต่ไม่แพ้ไม่ชนะ จนค่ำจึงกลับเข้าเมือง แล้วคิดได้ว่ายังมีเพื่อนชื่อท้าวไวยตาล เจ้าเมืองกุรุราชที่มีศาสตราวุธพิเศษ จึงให้เสนาถือสาสน์ไปเชิญมารบ ท้าวไวยตาลได้มาช่วยท้าวจักรวรรดิ์รบกับทัพของพระพรตและพระสัตรุต เมื่อท้าวไวยตาลเพลี่ยงพล้ำก็คิดว่าศัตรูมีกำลังกล้าแข็ง ควรจะไปทำพิธีบูชากระบองให้เกิดมีฤทธิ์ แล้วจึงขอหย่าศึกกลับเข้าเมือง ท้าวจักรวรรดิ์เมื่อรู้ว่า ท้าวไวยตาลจะไปทำพิธีชุบกระบอง ก็ให้เพตราไปขัดตาทัพไว้ก่อน พิเภกทูลพระพรตว่า ทัพที่ยกมาไม่ไช่ไวยตาล เพราะไวยตาลกลับไปบาดาลเพื่อทำพิธีชุบกระบองตาล ให้ชี้ทางต้นตาย ชี้ทางปลายเป็นและไม่ตาย พระพรตได้สั่งให้องคตไปรบกับเพตราส่วนนิลพัท ให้ไปทำลายพิธี นิลพัทได้ขอเอาอสุรผัดไปด้วย เมื่อนิลพัทและอสุรฟัดไปถึงก็หายตัวเข้าไป แล้วนิลพัทแปลงตัวเป็นพระกาฬ เข้าสู้รบกับไวยตาลที่กำลังทำพิธี จนเสียพิธี ก็พากันกลับมาดักรออยู่ที่ทางเข้าเมือง นิลพัทแปลงเป็นยักษ์นั่งอยู่ข้างทาง แล้วให้อสุรผัดคอยเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ เมื่อไวยตาลยกทัพกลับมาพบเข้า นิลพัทแกล้งทูลว่า ตนเป็นทหารอยู่ลงกาถูกทารุณจนอยู่ไม่ได้ ต้องลงมาขอพึ่ง ไวยตาลเชื่อพาเข้าเมือง ระหว่างทางได้กลายร่างเดิมเข้าต่อสู้กับไวยตาล อสุรผัดเข้าช่วยรบด้วย จนฆ่าไวยตาลตายแย่งกระบองไปได้ ส่วนองคตก็ฆ่าเพตราตาย ท้าวจักรวรรดิ์รู้ข่าวก็เสียใจและโกรธแค้น ยกทัพมารบเองเป็นครั้งที่สามกับพระพรต ไม่แพ้ไม่ชนะ จนค่ำจึงหย่าศึกกลับเข้าเมือง

พระรามปูนบำเหน็จ

พระรามได้ให้รางวัลทุกคนที่ออกรบครั้งนี้ โดยให้หนุมานไปครองกรุงมลิวัน นิลพัทเป็นพระยาอภัยพัทธพงศา อสุรผัดเป็นพระยามารนุราชอุปราชลงกา ยามลิวันเป็นพระยาวันยุพักตร์ ครองกรุงกุรุราช กันยุเวกเป็นพระยากันนุชิต ครองเมืองจักรวาล เปาวนาสูรให้กลับมาเป็นอำมาตย์ใหญ่ของพิเภกและอื่น ๆ แก่พลลิง และพลมาร

ฝ่ายไวยวิกและนางพิรากวน ที่ได้ครองเมืองบาดาลแทนไมยราพ ก็นึกถึงบุญคุณของหนุมานตลอดมา จึงคิดมาเยี่ยมและมาเฝ้าพระรามด้วย ไวยวิกได้ชวนมัจฉานุซึ่งเป็นอุปราชยกทัพมา พลวานรเห็นกองทัพมา ท้าวชมพูที่กำลังยกทัพกลับมา ก็เข้าใจผิดคิดว่าไวยวิกเป็นกบถ ได้นำทัพเข้าต่อสู้ พระรามได้ยินเสียงดังกึกก้อง ก็ให้หนุมานไปดู เห็นไวยวิกกับมัจฉานุก็จำได้ จึงเข้าขวางทัพ ไวยวิกและมัจฉานุเล่าให้ฟัง จากนั้นก็พากันเข้าเมืองไปเฝ้าพระราม พระรามได้ใช้พระขรรค์โมลีตัดหางที่เป็นปลาของมัจฉานุให้ แล้วบอกว่าหากการให้หนุมานไปครองเมืองมลิวันก็จะอยู่ไกล จึงให้มัจฉานุไปครองแทน และให้นางรัตนมาลีเป็นมเหสี ส่วนไวยวิกนั้นให้ไปครองเมืองบาดาลตามเดิม

ปีศาจนางอาดูล

วันหนึ่งพระรามเกิดอยากเที่ยวป่า ได้ชวนพระลักษมณ์ไปด้วย ส่วนนางสีดาตั้งครรภ์จึงอยู่ที่ตำหนัก นางสีดารู้สึกเร่าร้อนได้ชวนนางกำนัลไปอาบน้ำที่ท่าหลวง ฝ่ายยักษ์ตนหนึ่งชื่อนางอาดูล เป็นญาติของทศกรรฐ์ อยู่ใต้ดิน รู้ว่าที่เหล่ายักษ์พากันล้มตายก็เพราะนางสีดาเป็นต้นเหตุ ก็คิดแค้นนางสีดาเรื่อยมา และหาวิธีกลั่นแกล้งให้นางสีดาต้องพลัดพรากพระราม ได้ขึ้นมาจากใต้ดิน แปลงกายเป็นนางกำนัล มีรูปร่างงามมาหานางสีดา ถึงเวลาที่จะถึงคราววิบัติของนางสีดา ทำให้ไม่สงสัย แล้วนางอาดูลก็ตามนางสีดาขึ้นพระตำหนัก และถามนางสีดาถึงหน้าตาของทศกรรฐ์

นางสีดาเล่าให้ฟัง นางอาดูลบอกว่านึกไม่ออกควรจะวาดรูปให้ดู นางสีดาได้วาดรูปทศกรรฐ์ให้นางอาดูลดู และนางกำนัลอื่น ๆ ก็มาดูกัน เป็นเวลาที่พระรามพระลักษมณ์กลับจากป่า นางอาดูลรีบหายตัวเข้าไปสิงรูป นางสีดารู้ว่าพระรามกลับมาก็รีบลบรูปแต่ลบไม่ออก จึงนำไปซ่อนไว้ใต้ที่นอนของพระราม เมื่อพระรามจะนอนก็ให้ร้อนรุ่มและโมโหเอากับนางสนมกำนัล
พระรามให้ฆ่านางสีดา
นางสีดาได้ให้นางข้าหลวงไปบอกพระลักษมณ์ พระรามเล่าความรู้สึกให้ฟัง พระลักษมณ์ค้นห้องดูพบรูปทศกรรฐ์ แล้วนำไปให้พระรามดู นางสีดาคิดว่าถ้าอยู่เฉยนางกำนัลทั้งหลายจะเดือดร้อน จึงทูลความจริงแก่พระราม พระรามโกรธหาว่านางสีดาแพศยา ให้นำไปฆ่า พระลักษมณ์ได้ลอบพานางออกไปจากเมืองในตอนค่ำ และพระลักษมณ์กลัวพระรามรู้ก็ใช้พระขรรค์ฆ่านาง แต่นางสีดาไม่ตาย พระลักษมณ์จึงให้พระนางหนีไป ส่วนตนจะกลับเข้าเมืองก่อนเวลาเช้า

ฝ่ายพระอินทร์เห็นเรื่องราวทั้งหมด จึงคิดช่วยทั้งนางสีดาและพระลักษมณ์ ได้บันดาลให้มีเนื้อทราย นอนตายอยู่ระหว่างทางที่พระลักษมณ์จะผ่านกลับเมือง พระลักษมณ์ได้ควักดวงใจเนื้อทรายไปถวายพระราม

กำเนิดพระมงกุฎ พระลบ

ส่วนนางสีดาได้เดินทางมาพบกับพระอินทร์ที่แปลงเป็นควายมาคอยนางสีดา เห็นนางสีดาเดินร้องไห้มา จึงถามเหตุ นางสีดาเล่าให้ฟังแล้วขอให้ ควายแปลงพาไปหาฤาษีเพื่อขอพึ่ง ควายแปลงได้พานางไปพบกับฤาษีชื่อวัชมฤค ฤาษีได้รับเลี้ยงนางไว้ โดยเนรมิตกุฏีให้หลังหนึ่ง จนนางสีดาคลอดโอรสทิ้งไว้ในเปล แล้วไปฝากฤาษีให่ช่วยดูแล แล้วตนจะไปอาบน้ำ แต่ไปเห็นลิงแม่ลูก จึงได้คิดถึงโอรสกลับไปเอามาไม่บอกฤาษี ฤาษีลืมตาไม่เห็นโอรสก็จะทำพิธีไฟชุบโอรสให้ใหม่ โดยวาดรูปกุมารในกระดานเพื่อทำพิธี เมื่อเห็นนางสีดาพาโอรสกลับมา ก็จะลบรูปกุมารในกระดาน นางสีดาขอให้ชุบขึ้น เพื่อเป็นเพื่อนเล่นของโอรส เมื่อชุบได้แล้ว ฤาษีได้ตั้งชื่อพระโอรสว่า มงกุฎ ส่วนโอรสที่ชุบขึ้นให้ชื่อว่า ลบ ทั้งสองเรียนวิชากับฤาษีจนจบ และฤาษีได้เอาไม้ไผ่อ่อนมาเหลาเป็นคันศรและลูกศร องค์ละสามเล่ม แล้วให้ฝึกหัดยิงจนเกิดความชำนาญ ต่อมาฤาษีคิดจะตั้งพิธีชุบศรให้

เสี่ยงม้าอุปการ

วันหนึ่งพระมงกุฎกับพระลบ ลาฤาษีและพระมารดา ไปเที่ยวป่า แล้วชวนกันประลองศรเกิดเสียงสนั่นไปทั่ว พระรามได้ยิน รู้ว่าคงจะมีผู้มีบุญมาทดลองฤทธิ์ และโหรประจำราชสำนักได้ทูลให้ปล่อยม้าอุปการไปเสี่ยงทาย พร้อมกับให้หนุมานตามสะกดรอยไป หากใครจับไปขี่ย่อมแปลว่าคิดขบถให้จับตัวมาถวาย พระรามเห็นด้วยจึงให้ไปเชิญพระพรตและพระสัตรุตมา แล้วให้ตามม้าอุปการไปด้วย ฝ่ายนางสีดาตั้งแต่พระมงกุฎและพระลบ ขอไปเที่ยวป่า แล้วไปประลองศรก็ร้อนรุ่มใจ คิดว่าอาจมีกษัตริย์ผู้มีฤทธิ์เกิดความริษยามาจับตัวไปได้ ก็ห้ามไม่ให้ทั้งสองไปเที่ยวป่าอีก แต่โอรสทั้งสองไม่เชื่อ ลาไปป่าอีก ขณะที่กำลังเที่ยวป่าอยู่ พระมงกุฎเห็นม้าอุปการหน้าดำตัวขาวตลอดหาง เท้ามีสีแดง ก็บอกพระลบว่าเป็นม้าประหลาด ให้ช่วยกันจับ จับได้แล้วก็พบสาสน์แขวนคอม้า เมื่ออ่านแล้วก็รู้ว่าเป็นสาสน์ของพระรามที่ปล่อยม้ามา หากใครพบให้มาบูชาม้าอุปการ แต่หากใครนำไปขี่จะถูกฆ่าตาย ก็โมโหมาก ก็จับม้าอุปการขี่ หนุมานซึ่งสะกดรอยตามมาเห็นคิดว่า สองกุมารน่าจะเป็นลูกกษัตริย์เมืองใดเมืองหนึ่ง จะฆ่าเสียก็ได้ แต่กลับแผลงฤทธิ์เข้าจับ ถูกพระมงกุฎตีด้วยศรสิ้นสติ แล้วสองกุมารก็ขี่ม้าเล่นต่อไป เมื่อหนุมานฟื้นก็คิดอุบายโดยแปลงเป็นลิงป่าเข้าไปตีสนิท พอได้โอกาสจะเข้าจับถูกตีด้วยศรล้มลง แล้วทั้งสองโอรสเอาเถาวัลย์มัดหนุมานและสักหน้าด้วยยางไม้เขียนเป็นคำสาป หนุมานแก้ไม่หลุดเดินกลับไปหาทัพพระพรตและพระสัตรุต เล่าเรื่องให้ฟัง พระพรตเอาพระขรรค์ตัดเถาวัลย์ก็ไม่ขาด เมื่อเห็นคำสาปบนหน้าผาก ก็รู้ว่าแก้ไม่ได้ จึงพากันกลับไปเฝ้าพระราม พระรามแก้มัดให้เถาวัลย์จึงหลุดออก หนุมานเล่าให้ฟัง พระรามโกรธมาก ให้หนุมานไปทูลพระพรตและพระสัตรุต ให้ไปจับตัวทั้งสองมาลงโทษให้ได้
พระมงกุฎถูกจับ
เมื่อทัพของพระพรตและพระสัตรุต พร้อมด้วยหนุมานไปพบกับพระมงกุฎและพระลบ ทั้งสองจึงว่าม้านี้ไม่มีใครเลี้ยงดู อยู่ในป่าจับได้ก็ขี่ แล้วก็ไม่ได้เป็นลูกน้องพระราม หากจะจับก็ต้องรบกัน เมื่อรบกันพระมงกุฎต้องศรพระพรตสลบ ส่วนพระลบหนีไปได้ เมื่อพระรามเห็นพระมงกุฎแล้วรู้เรื่องราวทั้งหมดก็โกรธ ให้มัดตัวพระมงกุฎพาไปประจานทั่วเมือง แล้วเอาขึ้นขาหยั่งไว้สามวันให้ประหาร

ฝ่ายพระลบหนีไปบอกพระฤาษีกับนางสีดา พระลบจึงขออาสาไปชิงตัวพระมงกุฎกลับ นางสีดาห้าม แต่พระลบไม่ยอม นางสีดาจึงถอดแหวนให้ โดยหาโอกาสให้แหวนนี้แก่พระมงกุฎ

เมื่อพระลบตามมาถึงศรีอยุธยา ได้พักอยู่ใต้ต้นไทรใกล้ประตูเมือง แล้วไหว้เทวดาและเสื้อเมืองทรงเมืองให้ช่วยบังไม่ให้ใครเห็น และขอให้พบพี่โดยเร็ว พระอินทร์ได้ให้เทวดาแปลงกายเป็นนางงามกระเดียดหม้อมา เข้ามาถามพระลบ พระลบเล่าให้ฟังว่าจะมาดูกุมารที่ถูกจับ แต่ประตูปิดจึงไม่ได้เห็น นางจึงบอกว่าพระลบมีหน้าเหมือนคนที่ถูกจับ หากใครเห็นเข้าจะเข้าใจผิดได้ แล้วก็บอกว่าตนจะไปตักน้ำให้นักโทษ พระลบอาสาตักน้ำแล้วแอบใส่ แหวนไว้ในหม้อ พร้อมกับอธิษฐานว่า ขอให้แหวนไปสวมที่นิ้วพระมงกุฎ แล้วให้พ้นโทษกลับมาหาพระลบ นางแปลงนำหม้อน้ำไปถึงที่พระมงกุฎถูกจองจำ อ้อนวอนแก่เพชฌฆาตว่าจะนำน้ำมาให้นักโทษ เมื่อได้รับอนุญาตก็นำน้ำไปให้ แล้วแหวนก็สวมที่นิ้งนางขวา ความเจ็บปวดก็หายไป และหลุดจากถูกมัด จากนั้นพระมงกุฎก็หนีไปตามทางที่นางบอกจนไปพบกับพระลบ

พระรามพบโอรส

ฝ่ายพระรามรู้ว่านักโทษหนีไป ก็โกรธให้จับเพชฌฆาตทั้งสี่ขัง แล้วยกทัพไปตามจับสองกุมาร พบว่ามีหน้าตาเหมือนกัน เมื่อขณะรบกันศรทั้งสองไม่ทำลายซึ่งกันและกัน พระรามจึงอธิษฐานว่าหากกุมารนั้นเป็นเชื้อกษัตริย์ อย่าให้ศรนี้ฆ่าได้ และให้กลายเป็นอาหาร เมื่อแผลงไปก็กลายเป็นอาหาร พระรามสงสัยจึงถามสองกุมาร

พระมงกุฎได้บอกว่าเป็นลูกนางสีดา แต่ไม่รู้ว่าบิดาเป็นใคร ได้อาศัยอยู่กับฤาษีวัชมฤค พระรามสงสัยเรื่องฆ่านางสีดา พระลักษมณ์ทูลความจริง พระรามสำนึกผิด เข้ามาหาพระมงกุฎกับพระลบ ขอให้ยกโทษให้ พระมงกุฎและพระลบขอโทษที่ต่อสู้ด้วย แล้วจูงมือวิ่งหนีไป

พระราม พระลักษมณ์ พระพรตและพระสัตรุต ได้พากันตามสองกุมารไป พระมงกฎได้กลับไปเล่าเรื่องให้นางสีดาฟัง และบอกว่าทั้งหมดได้ตามมาถึงหน้าอาศรมนี้แล้ว นางสีดาไม่ยอมออกไป แต่นิมนต์ฤาษีไปเจรจากับพระราม เมื่อรู้เรื่องราวฤาษีคิดสงสารพระราม กลับมาไกล่เกลี่ย นางสีดาใจอ่อน ให้พระฤาษีพาพระรามมาพบ อย่างไรก็ตามนางสีดาก็ไม่ยอมกลับศรีอยุธยา พระรามจึงขอพระมงกุฎและพระลบไปอยู่อยุธยา เพื่อนางสีดาคิดถึงลูกจะได้ตามไป นางสีดายอมให้เอาโอรสไป แล้วพาพระมงกุฎและพระลบมาไหว้พระราม ฤาษีเห็นว่านางสีดายอมให้โอรสไป แต่ตัวไม่ยอมไปในเมืองด้วยก็รับปากว่าจะดูแลให้

ฝ่ายพระรามเมื่อเข้าไปอยู่ในศรีอยุธยาพร้อมกับโอรส ก็มีความคิดถึงนางสีดามาก ได้ให้พระมงกุฎและพระลบไปอ้อนวอนนางสีดาให้กลับคืนศรีอยุธยา เมื่อพบกันนางสีดาไม่ยอมกลับพร้อมกับบอกโอรสว่า ตนนั้นถูกพระรามผู้เป็นพ่อตราหน้าว่าเป็นคนชั่ว ประชาชนรู้ทั่วเมือง
พระรามแกล้งสวรรคต
พระรามได้คิดอุบายลวงนางสีดาให้กลับมา โดยให้หนุมานเนรมิตพระเมรุพร้อมโกศแก้วบรรจุศพ แต่ไม่มีผู้ใดรู้ว่าเป็นพระศพใคร แล้วให้หนุมานไปทูลนางสีดา นางสีดาหลงเชื่อว่าพระรามสิ้นพระชนม์ก็เสียใจ ไปลาฤาษีเข้าศรีอยุธยา หนุมานเชิญเสด็จประทับบนฝ่ามือเหาะเข้าเมือง นางสีดาตรงไปกราบโกศแก้วแล้วร้องไห้จนสลบ พระรามแอบดูอยู่เข้าไปอุ้มนางไว้ เมื่อนางสีดาฟื้นก็รู้ว่าถูกหลอก จึงตั้งสัตย์อธิษฐานขอให้แม่พระธรณีเปิดช่องให้หนีทุกข์ไปยังเมืองพญานาค เมื่อแผ่นดินแยกออกนางจึงกระโจนลงไป แผ่นดินก็ปิดตามเดิม

พระรามเดินดงครั้งที่สอง

พระรามเสียใจมาก ให้หนุมานไปตามแล้วกลับมาบอกว่านางสีดาไปอยู่เมืองบาดาล แคว้นท้าววิรุณนาคราช อย่างสมพระเกียรติ พระรามไม่รู้จะทำอย่างไร จึงแผลงศรไปหาพิเภก พิเภกเหาะมาเฝ้าแล้วทูลว่า พระรามกำลังมีเคราะห์ ควรไปเดินป่าหนี่งปีก็จะสิ้นเคราะห์ และนางสีดาก็จะกลับมา พระรามได้ฝากราชกิจแก่พระพรตและพระสัตรุต แล้วออกเดินป่าพร้อมพระลักษมณ์และหนุมาน ฝ่ายยักษ์ชื่อกุเวรเป็นเจ้าเมืองกาลวุธ มีมเหสีชื่อเกศินี มีโอรสชื่อตรีปักกัน ซึ่งมีนิสัยหยาบช้า ชอบรุกรานให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว วันหนึ่งได้ออกไปเที่ยวป่า พบกับพระรามพระลักษมณ์และหนุมาน ได้ให้บริวารเข้าล้อมจับจนเกิดต่อสู้กัน และตรีปักกันต้องศรพระลักษมณ์ตาย ท้าวกุเวรรู้ข่าวก็โกรธมากยกทัพออกไปรบ แต่ต้องศรพระรามตาย

ศึกกุมภัณฑ์นุราช

ฝ่ายยักษ์อีกตนหนึ่งชื่อกุมภัณฑ์นุราช ที่ต้องคำสาปพระอิศวรให้มาอยู่ถ้ำสุรกานต์ ออกมาจากถ้ำพบพระรามพระลักษมณ์และหนุมาน ก็คิดจะจับกิน หนุมานเข้าต่อสู้ กุมภัณฑ์นุราชถามว่าสองคนนั้นเป็นใคร เมื่อรู้ว่าเป็นพระรามก็ตกใจมาก ขอโทษหนุมาน หนุมานพาไปพบพระราม พระรามประทานอภัยให้พ้นคำสาป ฝ่ายสุครีพรู้เรื่องราวของพระรามกับนางสีดา และรู้ว่าพระรามออกเดินป่าจึงพาองคตตามไปพบพระรามที่ในป่า นิลพัทและมัจฉานุ ขอติดตามไปด้วย

ศึกวายุภักษ์

ฝ่ายยักษ์ชื่อวายุภักษ์ เจ้าเมืองวิเชียรที่เนินเขาจักรวาล พาไพร่พลผ่านมาที่ป่าซึ่งพระรามประทับแรมอยู่ เห็นพระราม พระลักษมณ์ อยู่ท่ามกลางขุนกระบี่ก็อยากกิน จึงโฉบลงมาจับตัวทั้งสองพระองค์ขึ้นไป สุครีพและหนุมานตามไปชิงตัวคืน แล้ววายุภักษ์ถูกนิลพัทกับองคตตัดหัวขาด

ศึกท้าวอุณาราช

จากนั้นพระรามได้เดินป่าต่อไป จนถึงบริเวณอาณาเขต เมืองสิงขร ซึ่งที่นั่นเป็นสวนของยักษ์ชื่อท้าวอุณาราช และมีนนทกาลเฝ้ารักษา เมื่อนนทกาลเห็นพระรามพระลักษมณ์และเหล่าลิง ก็ให้ทหารจับตัวไปถวายท้าวอุณาราช รวมทั้งจับกินพลลิงเสีย แต่กลับสู้พลลิงไม่ได้ จึงไปทูลท้าวอุณาราช ท้าวอุณาราชก็จัดทัพออกมารบ นิลพัท อสุรผัด และมัจฉานุ อาสาออกรบ แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ พระรามแผลงศรต้องอกท้าวอุณาราช แต่ไม่ตายหนีไปซ่อนที่สระน้ำกลางสวน

ฝ่ายฤาษีโคศภ รู้ด้วยญาณว่า ท้าวอุณาราชถูกพระรามแผลงศรแต่ไม่ตาย รีบมาทูลพระรามว่า เดิมท้าวอุณาราชเป็นข้ารับใช้พระอิศวร ต่อมาเกียจคร้านไม่เข้าเฝ้า จึงถูกสาปมาเป็นยักษ์และไม่มีอาวุธใดฆ่าได้ ต้องให้พระรามถอนต้นกกแผลงไปปักอกตรึงไว้กับหิน ให้ได้รับความทรมานแสนโกฎปี พระรามจึงถอนต้นกกแผลงไปปักอกติดอยู่กับหิน แล้วสาปให้เกิดไก่แก้วกับนนทรี โดยให้นนทรีถือฆ้อนเหล็กคอยเฝ้าไว้ หากต้นกกเลื่อนหลุด ให้ไก่แก้วขัน และให้นนทรีเอาฆ้อนเหล็กตอกลงไป จนกว่าจะครบแสนโกฎปี หลังจากที่ปราบอุณาราชแล้ว ก็ครบหนึ่งพันปีพอดี พระรามได้เสด็จกลับศรีอยุธยา แล้วปูนบำเหน็จแก่ไพร่พล
พระอิศวรไกล่เกลี่ย
ฝ่ายพระอินทร์ได้เฝ้าพระอิศวร ทูลขอให้ช่วยไกล่เกลี่ยระหว่างพระรามและนางสีดา พระอิศวรได้ให้จิตตุราชนำรถแก้วแทรกแผ่นดินลงไปรับนางสีดามาเฝ้า เมื่อพระอิศวรฟังเรื่องราวจากนางสีดาแล้ว ก็ให้จิตตุบทนำพิชัยรถลงไปรับพระรามมาเฝ้า แล้วตำหนิพระรามว่าก่อนที่จะอวตารลงไปนั้นได้ให้พรไว้ว่า

หากใครรักนางสีดา ก็จะเข้าใกล้ไม่ได้เพราะจะรุ่มร้อนเหมือนอยู่กลางไฟและไม่ให้เกิดอันตรายใด ๆ แก่นางสีดา ซึ่งก็รู้อยู่แล้วทำไมจึงระแวงกันอีก พระรามยอมรับผิดต่อหน้าพระอิศวรและเหล่าเทวดา นางสีดาก็ยอมคืนดีด้วย พระอิศวรจึงจัดให้มีพิธีอภิเษกระหว่างพระรามและนางสีดาขึ้นอีกครั้งที่วิมานเขาไกรลาส

ศึกท้าวคนธรรพ์

ยักษ์ตนหนึ่งชื่อท้าวคนธรรพ์ มีนิสัยหยาบช้า ครองกรุงดิสศรีสิน มีเหสีชื่อนันทา มีโอรสชื่อวิรุณพัท ซึ่งมีนิสัยหยาบช้าเช่นกัน วันหนึ่งท้าวคนธรรพ์พาวิรุณพัทไปเที่ยวป่าฆ่าสัตว์ต่าง ๆ และยังทำลายอาศรมฤาษี จนเดือดร้อนไปทั่ว จนมาถึงเขตเมืองไกยเกษ ก็เข้าโจมตีด่านแรกแล้วจับพลเมืองมา ถามว่าเมืองของใคร แล้วจึงให้เสนาชื่อนนทการ นำสาสน์ไปให้ท้าวไกยเกษว่าให้มามอบเมืองแก่ตน แต่ขณะนั้นพระพรตกับพระสัตรุตไม่อยู่ ท้าวไกยเกษจึงให้จัดทัพป้องกันเมืองให้เข้มแข็ง แล้วให้เสนาถือสาสน์ไปทูลพระราม ฝ่ายท้าวคนธรรพ์เห็นว่าท้าวไกยเกษไม่ยอมแน่ จึงยกทัพเข้าตีได้ ท้าวไกยเกษหนีออกจากเมืองไป บรรดาเสนาของกรุงไกยเกษได้คิดอุบายหานางกำนัลสวย ๆ ไปบำเรอท้าวคนธรรพ์ เพื่อถ่วงเวลารอพระพรตและพระสัตรุต เมื่อพระรามรู้ข่าวก็โกรธ ให้พระมงกุฎและพระลบยกทัพไปรบ แล้วให้หนุมานไปเกณฑ์ไพร่พลของเมืองขีดขินและเมืองชมพูมาด้วย เมื่อทัพมาถึงเมืองไกยเกษ พระพรตให้ชามพูวราชถือสาสน์ไปให้ท้าวคนธรรพ์ให้ออกมาเฝ้า ท้าวคนธรรพ์ไม่ยอม ยกทัพออกมารบพร้อมกับวิรุณพัทโอรส วิรุณพัทต้องศรของพระลบตาย ส่วนท้าวคนธรรพ์ต้องศรของพระมงกุฎตาย ฝ่ายพระพรตนั้น เมื่อเสร็จศึกก็คิดถึงเหล่านางสนมกำนัลที่ต้องตกเป็นของยักษ์ และคิดถึงตาที่หนีไป ไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด จึงยกทัพออกติดตาม ฝ่ายท้าวไกยเกษ ได้หนีไปอาศัยอยู่กับฤาษีโควินท์ ได้ยินเสียงกองทัพยกมา คิดว่ายักษ์ตามมาฆ่าก็ตกใจ แต่เมื่อเห็นว่าเป็นพระพรตกับพระสัตรุต และได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ ก็ดีใจ แล้วพระพรตกับพระสัตรุตได้เชิญท้าวไกยเกษเข้าเมือง ส่วนพระมงกุฎและพระลบก็ลากลับศรีอยุธยา

ลิลิตตะเลงพ่าย

ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี

(ร่าย) กล่าวสดุดีที่ทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติเกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ พร้อม

สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ

ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี

(โคลงสี่สุภาพ) บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง

ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป

เสร็จศึกแล้วก็ขึ้นครองราชสมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้าทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า

ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ

ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา

พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน แล้วทรงชี้เรื่องที่โบราณสั่งสอนไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรบ คือ โอวาท 8 ประการ

1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)

2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา)

3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)

4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)

5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)

6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)

7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า

(หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล

อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)

8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)

ครั้งทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว ก็กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่งพลายพัทธกอ ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปโดยทางสถลมารคทันที

ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี

พระมหาอุปราชายกทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ (ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างพม่ากับไทยในปัจจุบัน) ก็ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาในเขตสยามทันที และพระองค์ได้ทรงรำพันถึงนางสนมว่า

(24) เสด็จมาลำพังพระองค์เดียวเปล่าเปลี่ยวใจและน่าเศร้านัก เมื่อทรงชมต้นไม้และดอกไม้ที่ทรงพบเห็นระหว่างทางก็ค่อยเบิกบานพระทัยขึ้นมาบ้าง แต่ก็ไม่วายคิดถึงนางสนมกำนัลทั้งหลาย

(25) ทรงเห็นต้นสลัดไดทรงดำริว่าเหตุใดจึงต้องจากน้องมานอนป่า มาเพื่อทำสงครามกับข้าศึก เห็นต้นสละที่ต้องสละน้องมาเหมือนชื่อต้นไม้ เห็นต้นระกำที่ชื่อต้นไม้ช่างเหมือนอกพี่แท้ๆ

(26) ต้นสายหยุดเมื่อสายก็หมดกลิ่น แต่ใจพี่แม้ยามสายก็ไม่คลายรักน้อง กี่วันกี่คืนที่จากน้องพี่มีแต่ความทุกข์คิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้ว่าจะหยุดรักน้องได้อย่างไร

(27) กองทัพมอญดูมืดฟ้ามัวดิน ทั้งกองทัพ ม้า ช้าง ถืออาวุธเป็นมันปลาบ เห็นธงปลิวไสวเต็มทองฟ้า

ฝ่ายเจ้าเมืองกาญจนบุรี จัดทหารไปสืบข่าวในเขตมอญ ทหารก็ลัดเลาะไปทางลำน้ำแม่

กษัตริย์ เห็นกองทัพยกมาก็ตกใจ เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าเป็นพระมหาอุปราชายกทัพมา ก็รีบกลับมาแจ้งข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีทราบ เจ้าเมืองทราบข่าวศึกก็ตกใจมากจนขวัญไม่อยู่กับตัว ปรึกษากันแล้วก็เห็นว่าเมืองเรามีกำลังน้อย ต่อสู้ก็คงสู้ไม่ได้จึงชวนกันหลบหนีเข้าป่าไป

ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชาเร่งยกทัพมาถึงแม่น้ำลำกระเพิน ให้พระยาจิตตองทำสะพานไม้ไผ่ปูเพื่อยกพลเดินข้ามฝาก ชาวสยามเห็นชัดเช่นนั้นจึงมีสารลงชื่อทุกคนรายงานเรื่องข้าศึกยกทัพเข้ามา แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ

กองทัพมอญยกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรีเห็นบ้านเมืองว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดออกสู้รบ จะจับคนไทยมาสอบถามก็ไม่มีเลยสักคน จึงรู้ว่าคนไทยทราบข่าวและหลบหนีไปหมดแล้ว พระมหาอุปราชาจึงให้ยกทัพเข้าไปในเมือง แล้วยกทัพต่อไปถึงตำบลพนมทวนเกิดลมเวรัมภาพัดหอบเอาฉัตรหัก พระมหาอุปราชาตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรทราบถึงลางร้ายแต่ไม่กล้ากราบทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกสยามในครั้งนี้

พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พระองค์อดที่จะหวั่นในพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก ด้วยความหมกมุ่นในพระทัยก็ทรงระลึกถึงพระราชบิดาว่าถ้าพระองค์เสียโอรสให้แกข้าศึก จะต้องโทมนัสใหญ่หลวง เพราะเปรียบเหมือนพระองค์ถูกตัดพระพาหาทั้งสองข้างทีเดียว

การรบกับพระนเรศวรใครก็ไม่อาจจะต่อสู้ได้ เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน

สงสารสมเด็จพระราชบิดา ที่จะต้องเปล่าเปลี่ยวพระทัย ทั้งพระองค์ก็ทรงชราภาพมากแล้ว เกรงจะพ่ายแพ้เสียทีแก่ชาวสยาม

สงครามครั้งนี้หนักใจนัก เรารู้สึกหนาวเหน็บอยู่ในใจ ลูกตายใครจะเก็บผีไปให้ คงจะถูกทิ้งอยู่ไม่มีใครเผา พระองค์จะอยู่ในพระนครแต่ลำพังพระองค์เดียว ไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์ริเริ่มสงครามเพียงลำพังได้อย่างไร พระองค์คงจะต้องคับแค้นพระทัย

ฝ่ายเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คือ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณ ก็พากันอพยพผู้คนหนีเข้าป่า แล้วมีสารไปกราบให้พระนเรศวรทรงทราบ

ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร

ขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสอนคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข

แล้วพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไปตีเขมร โดยกำหนดวันที่จะยกทัพออกไป ส่วนทัพเรือจะให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เพื่อยกไปตีเมืองพุทไธมาศและเมืองบักสักแล้ว ให้เข้าล้อมเมืองหลวงของเขมรไว้

พระองค์ทรงพระวิตกว่าพม่าจะยกกองทัพมา จะได้ให้ใครอยู่ป้องกันบ้านเมืองรอพระองค์เสด็จกลับมา ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเป็นผู้ที่เหมาะสมก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาบ้านเมือง แต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ

ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ

สมเด็จพระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า เราเตรียมทัพจะไปตีเขมร ศึกมอญกลับมาชิงตัดหน้า ไม่ให้เราไปรบเขมร เราจะได้ยกไปทำสงครามเพื่อเป็นการรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ และจะต้องเอาชนะให้ได้ก่อน แล้วพระองค์ก็มีรับสั่งให้ประกาศแก่เมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500 คน

ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพินและให้รีบตัดสะพานให้ขาด จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ

แล้วให้หลบหนีกลับมาอย่าให้ข้าศึกจับได้

พอรับสั่งเสร็จ ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี ก็มาถึง เขาก็เบิกตัวเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องราวและถวายสารให้ทรงทราบว่า ขณะนี้กองทัพมอญลาดตระเวนเข้ามาถึงเขตเมืองวิเศษไชยชาญแล้ว

สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงเกรงกลัวข้าศึกแม้แต่น้อย กลับโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกที่นอกกรุงศรีอยุธยา ความคิดนี้ตรงกลับพระดำริของพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น

เกณฑ์จากหัวเมืองตรีและจัตวา 23 หัวเมืองใต้ เป็นทัพหน้า ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ โดยให้กองหน้าออกไปต่อสู้ข้าศึก หากสู้ไม่ได้พระองค์จะออกไปต่อสู้ในภายหลัง ทั้งสองแม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย โดยตั้งค่ายเป็นรูปภูมิพยุหไกรสร ทหารทั้งปวงก็ขวัญดีมีความรื่นเริงทั่วหน้า ตั้งรอทัพข้าศึกอยู่

ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ

ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรก็มีรับสั่งให้โหรหาฤกษ์ที่จะยกทัพหลวงไป หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ว่า พระนเรศวรได้จตุรงคโชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป

ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 8.30 น.

เมื่อได้มงคลฤกษ์ ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพเสด็จทางชลมารคไปประทับแรมที่ตำบลปากโมก เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จเข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 4 นาฬิกา พระองค์ทรงพระสุบินเป็นศุภนิมิติ

เรื่องราวราวในพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวรมีว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง ทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดพระเนตร และพระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งโถมปะทะและจะกัดพระองค์ จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป พอตื่นบรรทมสมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเทวดาสังหรให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลบ่าท่วมป่าทางทิศตะวันตกหมายถึงกองทัพของมอญ จระเข้คือพระมหาอุปราชา การสงครามครั้งนี้จะเป็นการใหญ่ ขนาดถึงได้กระทำยุตธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วยพระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำนั้น หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไปไม่อาจจะทานพระบรมเดชานุภาพได้

พอใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่ง คอยพิชัยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรืองงาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้นบันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึก

แล้วสมเด็จพระนเรศวรเสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไป

ตอนที่ 7 พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย

ฝ่ายกองตระเวนของมอญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้มาสืบข่าวดูกองทัพไทยซึ่งจะออกมาต่อสู้ต้านทานจะได้นำข่าวมาพระมหาอุปราชา สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมด้วยกองม้าจำนวน 500 คน ได้ไปพบกองทัพไทยตั้งค่ายรอรับอยู่ที่หนองสาหร่ายจึงรีบกลับไปทูลแด่องค์พระมหาอุปราชา พระองค์ตรัสถามนายกองทั้งสามว่าประมาณกำลังพลฝ่ายไทยประมาณเท่าใด นายกองกราบทูลว่า ประมาณสิบ – สิบแปด หมื่น ดูเต็มท้องทุ่ง พระมหาอุปราชาตรัสว่ากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ออกมารอรับทัพเป็นกองใหญ่ แต่กำลังน้อยกว่าของเรา ของเรามากกว่าหลายส่วน

เราจะต้องรีบโจมตีหักเอาให้ได้ตั้งแต่แรกจะได้เบาแรง แล้วจะได้ไปล้อมกรุงศรีอยุธยาชิงเอาราชสมบัติเห็นจะได้เมืองโดยสะดวก แล้วรับสั่งให้ขุนพลเตรียมทัพให้เสร็จแต่ 3 นาฬิกา พอ 5 นาฬิกา

ก็ยกไปโดยกะสว่างเอาข้างหน้า พรุ่งนี้เช้าจะได้เข้าโจมตี

เสนาผู้ใหญ่ได้ทำตามรับสั่ง เมื่อถึงเวลาตีห้า พระมหาอุปราชาแต่งองค์แล้วเสด็จประทับช้างพลายพัธกอซึ่งกำลังตกมัน

พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึก จึงจัดทัพพร้อมด้วยกำลังพล 5 หมื่น และจัดทัพแบบตรีเสนา คือแบ่งเป็นทัพใหญ่ 3 ทัพ

แต่ล่ะทัพแยกออกเป็น 3 กอง ดังนี้

กองหน้า เจ้าเมืองธนบุรี (นายกองหน้า ปีกซ้าย)

พระยาสุพรรณบุรี ( นายกองหน้า )

เจ้าเมืองนนทบุรี (นายกองหน้า ปีกขวา)

กองหลวง เจ้าเมืองสรรคบุรี (นายกอง ปีกซ้าย)

พระยาศรีไสยณรงค์ (แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ)

เจ้าเมืองสิงห์บุรี (นายกอง ปีกขวา)

กองหลัง เจ้าเมืองชัยนาท (นายกองหลัง ปีกซ้าย)

พระราชฤทธานนท์ (ปลัดทัพคุมกองหลัง)

พระยาวิเศษชัยชาญ (นายกองหลัง ปีกขวา)

ทัพไทยเคลื่อนออกจากหนองสาหร่ายถึงโคกเผาข้าวเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ได้ปะทะกับทัพมอญ ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ ต่างฝ่ายก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลือก็ต่อสู้กันอย่างไม่เกรงกลัว กองทัพมอญที่ตามมามีมากขึ้น ตีโอบล้อมกองทัพไทย ฝ่ายไทยกำลังน้อยกว่า กระจายออกรับไม่ไหว จึงต้องถอย

ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก็ทรงเตรียมกำลังทหารไว้อย่างพร้อมเพรียงตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแสงเงินแสงทองจับขอบฟ้า

ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน

ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีและผู้ชำนาญไสยศาสตร์ ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืนซึ่งไทยกับมอญกำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาขึ้นม้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงกองทัพไทยที่กำลังล่าถอย รับพลางถอยพลาง มอญตามมาอย่างกระชั้นชิด หมื่นทิพเสนาได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่า เมื่อเวลา 7 นาฬิกา ทัพไทยได้ปะทะกับทัพมอญที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกำลังข้าศึกมีมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกษาอย่างไร บรรดาแม่ทัพนายกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนจึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู้ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า “ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีก ก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควรที่ล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อลวงข้าศึกให้ละเลิงใจ ยกติดตามมาไม่เป็นขบวนพอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่ออกโจมตี ก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนายกองเห็นชอบด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชามาตย์ไปแจ้งทัพหน้าของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าไทยจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าไม่รู้กลอุบาย ก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน

ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก

ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศ พายัพ แล้วก็กลับแลดูท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้าโดยไม่มีอะไรบดบัง อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและชี้ให้เห็นความมีโชคดี สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพลตาม เกล็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม จนปะทะเข้ากับกองทัพข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสอง คือ พระเจ้าไชยานุภาพ และ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้สดับเสียง ฆ้อง กลอง และเสียงปืนของข้าศึก ก็ส่งเสียงร้องด้วยความคึกคะนอง เพราะกำลังตกมัน ควาญบังคับไว้ไม่อยู่ มันวิ่งไปโดยเร็ว จนทหารในกองตามไม่ทัน มีแต่กลางช้างและควาญช้างสี่คนเท่านั้นที่ตามเสด็จไปด้วยจนเข้าไปใกล้กองหน้าของข้าศึก ช้างศึกได้กลิ่น มัน ก็พากันตกใจหนีไปปะทะกับพวกที่ตามมาข้างหลัง ช้างทรงไล่แทงช้างของข้าศึกอย่างเมามัน ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกยิงปืนเข้าใส่ แต่ไม่ถูกช้างทรง การต่อสู้เป็นแบบตะลุมบอนจนฝุ่นตลบมองหน้ากันไม่เห็น เหมือนกับเวลากลางคืน

สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสประกาศแด่เทวดาทั้งหลายบนสวสรรค์ทั้งหกชั้น และพรหมทั้งสิบหกชั้นว่า ที่ให้พระองค์ท่านมาประสูตรเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติก็ด้วยหวังจะให้ทะนุบำรุงศาสนา และพระรัตนตรัยให้เจริญรุ่งเรือง เหตุใดเล่าเทวดาจึงไม่บันดาลให้ท้องฟ้าสว่างมองเห็นข้าศึกได้ชัดเจน พอดำรัสจบไม่นานก็เกิดพายุใหญ่พัดหอบเอาฝุ่นและควันหายไป ท้องฟ้าสว่างดังเดิม มองเห็นสนามรบได้ชัดเจน พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างประทับยืนอยู่ใต้ต้นไม้ข่อย มีทหารห้อมล้อมและตั้งเครื่องสูงครบครัน

ทั้งสองพระองค์ทรงไสช้างเข้าไปหาด้วยพระพักตร์ที่ผ่องใสไม่เกรงกลัวแม้แต่น้อย ข้าศึกยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็มิได้ต้องพระองค์เลย

ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย

สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสอันไพเราะไม่มีสุรเสียงขุ่นแค้นพระทัยเลยแม้แต่น้อยว่า

“ ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญ พระเกียรคิยศเลื่องลือไปไกลทั่วทั้งสิบทิศ ข้าศึกได้ยินก็เกรงพระบรมเดชานุภาพ ไม่กล้าสู้รบพากันหนีไป

พระเจ้าผู้พี่ปกครองประเทศอันบริบูรณ์ยิ่ง เป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ เชิญพระองค์เสด็จมาร่วมทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรคิไว้ให้เป็นที่ปรากฏ ต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว

การรบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ ต่อไปจะไม่ได้ไม่พบอีก การที่กษัตริย์ทำยุทธหัตถีกัน ก็คงมีแต่เราสองพี่น้อง ตราบชั่วฟ้าดินสลาย

การทำยุทธหัตถีก็เปรียบประดุจการเล่นที่รื่นเริงของกษัตริย์เพื่อให้ชมเล่นเป็นขวัญตาแก่มนุษย์จนถึงเมืองสวรรค์ ขอทูลเชิญเทวดาและพรหมทั้งปวงมาประชุมในสถานที่นี้เพื่อชมการยุทธหัตถี ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่า ขอทรงอวยพรให้ผู้นั้นรับชัยชนะ หวังจะให้พระเกียรติยศในการรบครั้งนี้ดำรงอยู่ชั่วฟ้าดิน ว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้กระทำสงครามกัน ใครรู้เรื่องก็จะได้ยกย่องสรรเสริญกันตลอดไป ”

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ตรัสพรรณนาดังนั้น พระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยะมานะกล้าหาญขึ้น รีบไสช้างเข้าต่อสู้โดยเร็วด้วยความกล้าหาญ ช้างทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคิรีเมขล์อันเป็นพาหนะของวัสวดีมาร ต่างส่ายเศียรและหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่ สองกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่งามเลิศล้ำน่าชมยิ่งหนัก ประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์ กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน กษัตริย์แห่งกรุงสยามก็สามารถต้านพระมหาอุปราชาได้ ทั้งสองไม่ทรงเกรงกลัวกันเลย และไม่ได้ลดความห้าวหาญลงแม้แต่น้อย พระหัตถ์ก็ยกพระแสงของ้าวขึ้นกวัดแกว่งตามแบบฉบับ ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรโถมเข้าใส่ไม่ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาทั้งคู่ค้ำคางเจ้าพระยาไชยานุภาพแหงนสูงขึ้น จึงได้ทีถนัด พระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาส จึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาหลบพร้อมกับใช้พระแสงของ้าวปัดเสียทัน อาวุธของพระมหาอุปราชาจึงไม่ถูกพระองค์

ทันใดนั้นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรเบนสะบัดได้ล่าง จึงใช้งางัดคอช้างของพระมหาอุปราชาจนหงาย ช้างของพระมหาอุปราชาเสียท่าต้องถอยหลังพลาดท่าในการรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกพระมหาอุปราชาที่พระอังสาขวาขาดสะพายแล่ง

พระอุระของพระมหาอุปราชาถูกฟันจนเป็นรอยแยก พระวรกายก็เอนซบอยู่บนคอช้างเป็นที่น่าสลดใจ สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตในแดนสวรรค์ ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร คือ นายมหานุภาพก็ถูกปืนข้าศึกเสียชีวิต ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำยุทธหัตถีกับ มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา) พระเอกาทศรถได้ใช้พระแสงของ้าวฟันถูกมางจาชโรตายซบอยู่บนหลังพลายพัชเนียรนั่นเอง และกลางช้างของพระเอกาทศรถ คือ หมื่นภักดีศวรก็ถูกปืนข้าศึกตาย

ทั้งสองพระองค์รบกับข้าศึกในครั้งนี้ด้วยพระบรมเดชานุภาพ เพราะมีแค่ทหารสี่คนและพระองค์ทั้งสองเท่านั้น พระเกียรติจึงแผ่ไปไกล ทหารที่ติดตามไปตายสองและรอดกลับมาสอง

กองทัพไทยติดตามมาทันเมื่อพระมหาอุปราชาขาดคอช้างแล้ว ต่างก็รีบเข้ามาช่วยรบ ฆ่าฟันทหาร พม่า มอญ ไทยใหญ่ ลาว เชียงใหม่ ตายลงจำนวนมากเหลือคณานับ ที่เหลือบุกป่าฝ่าดงหนีไป ทั้งนี้เป็นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยแท้

ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร

สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้สร้างสถูปสวมทับที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี ณ ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสืบต่อไป เสร็จศึกยุทธหัตถีแล้ว สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้เจ้าเมือง มล่วน รวมทั้งควาญช้างกลับ ไปแจ้งข่าวการแพ้สงครามและการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี แล้วพระองค์ก็ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ชื่อเสียงของกรุงศรีอยุธยาก็ลือเลื่องไปทั้งแผ่นดิน จากนั้นก็ทรงปรารภเรื่องการพระราชทานความดีความชอบแก่ พระยารามราฆพ ( กลางช้างของพระนเรศวร )

และ ขุนศรีคชคง ( ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ) โดยพระราชทานบำเหน็จ เครื่องอุปโภค เงิน ทอง ทาส และเชลยให้แล้วก็พระราชทานบำนาญแก่บุตรภรรยาของ นายมหานุภาพ และ หมื่นภักดีศวร ที่เสียชีวิตในสงครามให้สมกับความดีความชอบและที่มีความภักดีต่อพระองค์

ต่อมาก็ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันตามกฎของพระอัยการศึกว่า ในการที่ข้าศึกยกทัพเข้ามาเหยียบแดนถึงชานพระนคร พระองค์และพระเอกาทศรถทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำนุบำรุงเหล่าสมณพราหมณ์และประชาราษฎรมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบาก ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จออกไปปราบอริราชศัตรู แต่แม่ทัพนายกองทั้งปวงกลับกลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระอาญา ไม่พยายามยกไปรบให้ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง จนถึงได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ ลูกขุนได้เชิญกฎพระอัยการออกค้นดู เห็นว่าจะได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากใกล้วัน 15 ค่ำ ( บัณรสี ) จึงทรงพระกรุณางดโทษไว้ก่อน ต่อวันหนึ่งค่ำ (ปาฏิบท) จึงให้ลงโทษประหาร

ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ

ยังไม่พ้นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกำหนดไว้ พอถึงวันแรม 15 ค่ำ เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ 25 องค์สองแผนก คือ ฝ่ายคามวาสี และ อรัญวาสี พากันไปยังพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้นิมนต์เข้าไปในท้องพระโรง สมเด็จพระนเรศวรทรงประนมพระหัตถ์แสดงคารวะ พระวันรัตได้ทูลถามข่าวที่สมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีจนพระมหาอุปราชาขาดคอช้าง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเล่าจบ พระวันรัตกราบทูลว่า พระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงได้รับชัยชนะ เหตุใดเล่าเหล่าบริพารจึงต้องโทษ ได้ยินแล้วที่สงสัย สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสต่อไปว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงซึ่งได้รับเกณฑ์เข้าในกองทัพ เมื่อเห็นข้าศึกก็ตกใจกลัว ยิ่งกว่ากลัวพระองค์ซึ่งเป็นเจ้านาย ไม่ตามเสด็จให้ทัน ปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องเข้าสู้รบท่ามกลางข้าศึกจำนวนมากจนมีชัยชนะรอดพ้นความตายจึงได้มาดูหน้าพวกทหารเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะคุณความดียิ่งใหญ่ที่ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้คอยอุดหนุนพระบรมเดชานุภาพของพระองค์สองพี่น้อง ถ้าไม่ได้ความดีแต่เก่าแล้ว ประเทศไทยจะต้องสิ้นอำนาจเสียแผ่นดินแก่กรุงหงสาวดีเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศ จึงควรลงโทษถึงตายตามพระอัยการศึกเพื่อให้เป็นตัวอย่างมิให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่างสืบไป

สมเด็จพระวันรัตจึงกราบทูลว่า “ บรรดาข้าทูลละอองธุลีพระบาทล้วนมีความจงรักภักดี เป็นการผิดแปลกไปจากแบบแผนแต่ก่อนที่ว่าไม่จงรักยำเกรงพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระบรมเดชานุภาพสำแดงให้ปรากฏแก่ปวงชนเป็นที่น่าอัศจรรย์จึงบันดาลให้เป็นเช่นนั้น

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ( พระตรีโลกนาถ ) ทรงชนะพระยามารลำพังพระองค์เอง เช่นเดียวกับสมเด็จพระนเรศวร พระเอกาทศรถ เสด็จไปปราบอริราชศัตรูจนแพ้พ่ายโดยปราศจากไพร่พล พระเกียรติยศจึงเลื่องลือกึกก้องไปทั่วทุกแห่งหน หากมีทหารล้อมมากมายถึงเอาชนะได้

พระเกียรติยศก็ไม่ฟุ้งเฟื่องเพิ่มพูนขึ้น และกษัตริย์ทั้งหลายก็จะไม่พากันออกพระนามเอิกเกริกกันเช่นนี้ ขอพระองค์ทั้งสองอย่าได้โทมนัสน้อยพระทัยไปเลย ทั้งนี้เพราะเพื่อราชกฤฎาภินิหารของพระองค์ ทวยเทพทั้งหลายจึงบันดาลให้เป็นไปดังนั้น ขอมหาบพิตรทั้งสองพระองค์ อย่าได้ทรงขุ่นแค้นพระทัยไปเลย ทั้งนี้เป็นไปตามที่กราบทูลทุกประการ ”

สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังพระวันรัตถวายวิสัชนาบรรยายโดยพิสดารโดยวิธีเปรียบเทียบกับกฤฎาภินิหารแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงปราโมทย์ ออกพระโอษฐ์สาธุถวายนมัสการแล้วตรัสว่า พระวันรัตกล่าวคำน่าขอบใจ ทุกสิ่งที่ชี้แจงสมควรและเป็นจริงไม่สงสัยแม้แต่น้อย

พระวันรัตเห็นว่าทรงคลายกริ้วแม่ทัพนายกองแล้ว จึงกล่าวถวายพระพรให้พระองค์ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง แล้วกราบทูลต่อไปว่า แม่ทัพนายกองเหล่านี้มีความผิดรุนแรง

ควรได้รับโทษทั้งโคตร แต่เคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระบรมราชอัยกา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา จนล่วงถึงสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติ เปรียบได้กับพุทธบริษัททั้งปวง ช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาต่อมา ขอให้พระองค์ทรงงดโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไว้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นกำลังส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพ เมื่อศึกสงครามเกิดขึ้นอีก เขาเหล่านั้นจะคิดแก้ตัว หาความดีความชอบเพื่อเพิ่มพูนพระบารมีให้แผ่ไปทั่วบ้านเมืองชองพระองค์เป็นแน่

สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับข้อความของพระวันรัตที่ทูลขออภัยบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งปวง ก็ทรงพระกรุณาที่ว่าบุคคลเหล่านี้ยังจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ จึงพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลของพระวันรัต แต่ทรงเห็นสมควรที่จะใช้ให้ไปตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และ มะริด เป็นการชดเชยความผิด สมเด็จพระวันรัตกราบทูลว่า การรบทัพจับศึกไม่ใช่กิจอันควรที่พระภิกษุจะเห็นด้วย พระองค์จะทรงมีพระราชบัญชาใช้สอยประการใดสุดแล้วแต่พระราชอัธยาศัย แล้วสมเด็จพระวันรัตถวายพระพรลา พาคณะสงฆ์กลับวัด สมเด็จพระนเรศวรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพนายกองพ้นโทษและคงดำรงตำแหน่งยศเดิม

สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชกำหนดให้ เจ้าพระยาคลังคุมทหาร 50,000 คน ไปตีเมืองทวาย ให้เจ้าพระยาจักรีคุมทัพจำนวนรี้พลเท่ากันไปตีเมือง มะริด และ ตะนาวศรี มหาอำมาตย์ทั้งสองกราบถวายบังคมลาไปเตรียมทัพยกไปทันที

แล้วทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือว่า ไทยได้กวาดต้อนครอบครัวเข้ามาจำนวนมากแต่ยังไม่หมด ทรงมีพระราชดำริว่าถึงศึก พม่า มอญ ว่าคงจะลดลงถึงจะยกมาก็คงไม่น่ากลัว ควรจะได้ทะนุบำรุงหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ให้รุ่งเรืองปรากฏเป็นเกียรติยศสืบต่อไปชั่วกัลปาวส

ไกรทอง ชาละวัน

กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำทองเป็นที่อยู่ของจระเข้ ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร และท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวพันตาและพญาพันวัง ทั้งสามต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน

หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่ไม่ใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้าย และต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด

ณ เมืองพิจิตร มีพี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่อีกหลายคน

เวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้อันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง

เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึกในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม เจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้ ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว..และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบเจ้าชาละวัน ..

ก่อนพบเจอเหตุร้าย เจ้าชาละวันได้นอนฝันว่า มีไฟลุกไหม้และน้ำท่วมทะลักเข้าถ้ำ เกิดแผ่นดินไหวแปรปรวน ทันดใดนั้น! ปรากฏร่างเทวดาฝันคอชาละวันขาดกระเด็น จึงได้นำความฝันไปบอกกล่าวกับปู่ท้าวรำไพ เพราะเหตุการณ์ในความฝันเป็นลางร้าย เจ้าชาละวันต้องจำศีลในถ้ำ 7 วัน ถ้าออกไปนอกถ้ำจะพบภัยพิบัติถึงชีวิต

..รุ่งเช้าไกรทองเริ่มตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมอ่านคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดร้อนลุ่มต้องออกจากถ้ำขึ้นมาบนผิวน้ำต่อสู้กับไกรทอง ไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้และแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกได้ทิ่มแทงเจ้าชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และได้หนีกลับไปที่ถ้ำ

แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำ ตามไปต่อสู้อีกในถ้ำบาดาล และพบกับ วิมาลา ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสีจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ ไกรทองตามมาจึงได้ต่อสู้กับเจ้าชาละวันในถ้ำต่อ จนเจ้าชาละวันเสียท่าถูกแทงสิ้นใจตายตรงนั้น(บางสำนวนก็บอกว่า เจ้าชาละวันถูกหอกอาคมของไกรทองแทงกลางหลัง แล้วร่างก็เปลี่ยนเป็นจระเข้ยักษ์นอนตายอยู่กลางถ้ำทอง) และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากที่ลูกสาวยังไม่ตาย จึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน

ใจของไกรทองกลับนึกถึงนางวิมาลา จึงไปหาอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็นมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง

นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์ สุดท้ายไกรทองก็ปรับความเข้าใจได้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งมนุษย์และจระเข้อยู่อย่างสันติ

ขุนช้างขุนแผน

กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่ายรับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อ พลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อ นางเทพทอง มีลูกชายชื่อ ขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด และครอบครัวของพันศรโยธา เป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ นางพิมพิลาไลย

วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

ทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศรโยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย

เมื่อพลายแก้วอายุได้ ๑๕ ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธ ต่อมาเณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกัน

ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามาราถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้ชัยชนะ นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงยกนางลาวทองลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้ว

ส่วนนางพิมพิลาไลย เมื่อสามีจากไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฎหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรีนางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจ

ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับราชการอบรมในวังและได้มหาดเล็กเวรทั้งสองคน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่า นางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผน ขุนช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาดภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธจึงสั่งให้นำตัวนางลาวทองมากักไว้ในวัง ส่วนขุนแผนให้ไปตระเวนด่านห้ามเข้าวังอีกทำให้ขุนแผนแค้นขุนช้างมากคิดช่วงชิงนางวันทองกลับคืนมา จึงออกหาของวิเศษ ๓ อย่าง คือ ดาบวิเศษ กุมารทอง และม้าฝีเท้าดี ขุนแผนเดินทางไปถึงซ่องโจรของหมื่นหาญก็สมัครเข้าเป็นสมุน วันหนึ่งได้ช่วยชีวิตหมื่นหาญให้รอดพ้นจากการถูกวัวแดงขวิดตาย หมื่นหาญจึงยกนางบัวคลี่ลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของขุนแผน

ต่อมาหมื่นหาญเห็นขุนแผนมีวิชาอาคมเหนือกว่าตนก็คิดกำจัด โดยสั่งให้นางบัวคลี่วางยาพิษฆ่าขุนแผน แต่โหงพรายมาบอกให้ขุนแผนรู้ตัว คืนนั้นพอนางบัวคลี่นอนหลับ ขุนแผนก็ผ่าท้องนางควักเอาเด็กไปทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง ต่อจากนั้นก็ทำพิธีตีดาบฟ้าฟื้นและไปซื้อม้าลักษณะดีได้ตัวหนึ่ง ชื่อ ม้าสีหมอก แล้วขุนแผนก็ไปที่บ้านของขุนช้างสะกดคนให้หลับหมดแล้วขึ้นไปบนบ้านแต่เข้าห้องผิด จึงพบนางแก้วกิริยาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ให้ทหารตามจับขุนแผน แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายไปหลายคน ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องจึงพากันออกมามอบตัวสู้คดีกับขุนช้างจนชนะคดี ขุนแผนนางวันทอง และนางแก้วกิริยาจึงอยู่ร่วมกันด้วยความสุข แต่ขุนแผนนึกถึงนางลาวทองจึงขอร้องจมื่นศรีเสาวรักษ์ให้ขอตัวนางจากสมเด็จพระพันวษาทำให้พระองค์โกรธว่าขุนแผนกำเริบจึงสั่งจำคุกขุนแผนไว้ นางแก้วกิริยาตามไปปรนนิบัติขุนแผนด้วย ส่วนนางวันทองพักอยู่ที่บ้านของหมื่นศรี ขุนช้างจึงพาพรรคพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีก ต่อมานางก็คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม ขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตนก็เกลียดชัง วันหนึ่งจึงหลอกพาเข้าไปในป่าทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้ โหงพรายของขุนแผนมาช่วยได้ทัน นางวันทองจึงให้ลูกไปอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรีพลายงามได้ร่ำเรียนวิชาของพ่อเชี่ยวชาญ ขุนแผนจึงพาไปฝากไว้กับหมื่นศรี เพื่อหาโอกาสให้เข้ารับราชการ

ทางฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้ทหารไปชิงตัวนางสร้อยทองธิดาพระเจ้าล้านช้างระหว่างที่เดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา เพราะพระเจ้าล้านช้างต้องการเป็นไมตรีด้วยจึงส่งธิดามาถวายตัวแล้วพระเจ้าเชียงอินทร์ยังส่งหนังสือท้าทายสมเด็จพระพันวษาอีกด้วย พลายงามได้โอกาสจึงอาสาออกไปรบ และขอให้ปล่อยขุนแผนออกจากคุกด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันทำศึก ขุนแผนจึงพ้นโทษ ในขณะที่กำลังเตรียมทัพนางแก้วกิริยาก็คลอดลูกเป็นชาย ขุนแผนตั้งชื่อว่า พลายชุมพล แล้วขุนแผนกับพลายงามก็คุมทัพมุ่งสู่เชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะเยี่ยมพระพิจิตรกับนางบุษบาซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือ เมื่อครั้งขุนแผนกับนางวันทองเข้ามอบตัว พลายงามจึงได้พบนางศรีมาลาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็คุมทัพไปรบกับเชียงใหม่ได้ชัยชนะ ครั้นกลับถึงกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้เป็นพระสุรินฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถ และสมเด็จพระพันวษาก็ยกนางสร้อยฟ้าธิดาของพระเจ้าเชียงอินทร์ให้แต่งงานกับพระไวยพร้อม ๆ กับนางศรีมาลา

พระไวยอยากให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมาขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทัน

ในครอบครัวของพระไวยก็ไม่ราบรื่นนัก เพราะนางสร้อยฟ้าไม่พอใจที่พระไวยและนางทองประศรีรักนางศรีมาลามากกว่านาง จึงมักจะมีการทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ นางสร้อยฟ้าเจ็บใจจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงรักนาง แล้วนางสร้อยฟ้าก็หาเรื่องใส่ความให้พระไวยตีนางมาลา พลายชุมพลเข้าไปห้ามก็ถูกตีไปด้วย พลายชุมพลน้อยใจจึงหนีออกจากบ้านไปหาพ่อแม่ที่กาญจนบุรีเล่าเรื่องให้ฟัง แล้วหนีต่อไปหายายที่สุโขทัย ได้บวชเณรและเล่าเรียนอยู่ที่นั้น

ฝ่ายขุนแผนรีบไปที่บ้านของพระไวย แล้วเสกกระจกมนต์ให้ดูว่าถูกทำเสน่ห์ แต่พระไวยไม่เชื่อหาว่าพ่อเล่นกลให้ดู และพูดลำเลิกบุญคุณที่ช่วยพ่อออกมาจากคุกขุนแผนแค้นมากประกาศตัดพ่อตัดลูก แล้วกลับกาญจนบุรีทันที

พลายชุมพลเรียนวิชาสำเร็จแล้วก็นัดหมายกับขุนแผนจแก้แค้นพระไวย โดยพลายชุมพลสึกจากเณรปลอมเป็นมอญ ใช้ชื่อ สมิงมัตรา ยกกองทัพหุ่นหญ้าเสกมาถึงสุพรรณบุรี สมเด็จพระพันวษา ให้ขุนแผนยกทัพไปต้านศึก ขุนแผนแกล้งแพ้ให้ถูกจับได้พระไวยจึงต้องยกทัพไปและต่อสู้กับพลายชุมพล ระหว่างที่กำลังต่อสู้กัน ขุนแผนบอกให้พลายชุมพลจับตัวพระไวยไว้ พระไวยเห็นพ่อก็ตกใจหนีกับไปฟ้องสมเด็จพระพันวษาพระองศ์จึงให้นางศรีมาลาไปรับตัวขุนแผนกับพลายชุมพลเข้าวัง พลายชุมพลอาสาจับเสน่ห์ โดยขอหมื่นศรีไปเป็นพยานด้วย พลายชุมพลจับตัวเถรขวาดกับเณรจิ๋วไว้ แล้วขุดรูปปั้นลงอาคมที่ฝั่งไส้ใต้ดินขึ้นมาได้เสน่ห์จึงคลาย ตกดึกเถรขวาดกับเณรจิ๋วสะเดาะโซ่ตรวนหนีไป ในการไต่สวนคดีนางสร้อยฟ้า ไม่ยอมรับว่าเป็นคนทำเสน่ห์ และใส่ร้ายว่านางศรีมาลาเป็นชู้กับพลายชุมพล พอนางจับได้พลายชุมพลก็หนีไปยุยงขุนแผน ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยการลุยไฟนางสร้อยฟ้าแพ้ถูกไฟลวกจนพุพอง ส่วนนางศรีมาลาไม่เป็นอะไรเลย สมเด็จพระพันวษาสั่งประหารนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาช่วยขออภัยโทษให้ จึงเพียงถูกเนรเทศกลับไปอยู่ที่เชียงใหม่เช่นเดิม ระหว่างเดินทางก็พบเถรขวาดกับเณรจิ๋ว จึงเดินทางไปด้วยกัน กลับถึงเชียงใหม่ได้ไม่นานกนางก็ให้กำเนิดลูกชาย ชื่อ พลายยง ส่วนนางศรีมาลาก็คลอดลูกชายเช่นกัน ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร

พระเจ้าเชียงอินทร์ ตั้งเถรขวาด เป็นพระสังฆราชเพื่อตอบแทนความดีความชอบที่พานางสร้อยฟ้าที่กลับบ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย แต่เถรขวาดยังแค้นพลายชุมพล จึงเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา แปลงเป็นจระเข้อาละวาดฆ่าคนและสัตว์เลี้ยงไปมากมาย พลายชุมพลจึงอาสาออกปราบจระเข้จนสำเร็จ ไดตัวเถรขวาดมาประหารชีวิต พลายชุมพลได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงนายฤทธิ์ นับจากนั้นเป็นตนมาทุกคนก็อยู่กันอย่างมีความสุข

อิเหนา

เริ่มเรื่องกล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวา ๔ องค์ มีนามตามชื่อกรุงที่ครองราชย์ คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี ยังมีนครหมันหยาซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติกันกับนครเหล่านี้ โดยท้าวกุเรปันได้นางนิหลาอระตาแห่งหมันหยาเป็นชายา ส่วนท้าวดาหาได้นางดาหราวาตีเป็นชายาเช่นกัน กษัตริย์แห่งวงศ์เทวามีมเหสี ๕ องค์เรียงลำดับตามตำแหน่งดังนี้ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ต่อมาท้าวกุเรปันได้โอรสกับมเหสีเอก ซึ่งโอรสองค์นี้มีวาสนาสูง องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็นต้นวงศ์เทวาอยู่บนสวรรค์ได้นำกริชวิเศษลงมาให้ พร้อมจารึกชื่อไว้บนกริชว่า “หยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา อุดากันสาหรีปาตี อิเหนาเองหยังตาหลา” แต่เรียกสั้นๆว่า อิเหนา ท้าวหมันหยาได้ธิดากับมเหสีเอกชื่อ จินตะหราวาตี และท้าวดาหาได้ธิดากับมเหสีเอกของตนเช่นเดียวกันชื่อว่า บุษบา ท้าวกุเรปันได้ขอตุนาหงัน (หมั้นไว้) บุษบาให้แก่อิเหนา เพื่อเป็นการสืบราชประเพณี “…ตามจารีตโบราณสืบมา หวังมิให้วงศาอื่นปน…” ส่วนอิเหนาเติบโตเป็นเจ้าชายรูปงาม ชำนาญการใช้กริช ครั้นเมื่อพระอัยกีเมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาได้ไปในงานปลงพระศพแทนพระบิดาและพระมารดาซึ่งทรงครรภ์แก่ ได้ไปพบนางจินตะหราก็หลงรัก และได้นางเป็นชายา โดยไม่ฟังคำทัดทานจากท้าวกุเรปัน และได้บอกเลิกตุหนาหงันนางบุษบาเสียเฉยๆ ทำให้ท้าวดาหาขัดเคืองพระทัยมาก ดังนั้นพอจรกาซึ่ง “รูปชั่วตัวดำ” มาขอตุนาหงัน ท้าวดาหาก็ยอมรับเพราะแค้นอิเหนา

ฝ่ายองค์อสัญแดหวา (ปะตาระกาหลา) เทวดาผู้ทรงเป็นต้นวงศ์เทวาไม่พอพระทัย อิเหนา เห็นว่าต้องดัดสันดานให้สำนึกตัว จึงบันดาลให้วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิงเก็บรูปนางบุษบาได้ เกิดคลั่งไคล้รบเร้าให้พระบิดาไปขอ ท้าวดาหาก็ให้ไม่ได้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็รักลูกมาก จึงยกทัพไปรบเพื่อแย่งชิงนางบุษบา

ท้าวดาหาแจ้งข่าวให้ท้าวกุเรปันและจรกายกทัพมาช่วย ท้าวกุเรปันโปรดให้อิเหนาเป็นแม่ทัพยกไปช่วย อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหรายกทัพไปช่วยท้าวดาหารบจนได้ชัยชนะ และฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำตาย หลังจากเสร็จศึกแล้ว อิเหนาได้เข้าเฝ้าได้ท้าวดาหา และเมื่อได้พบนางบุษบาเป็นครั้งแรก อิเหนาถึงกับตะลึงหลงนางบุษบา

ต่อมา มะเดหวีซึ่งคงจะวุ่นพระทัยว่าบุษบาจะลงเอยประการใด จึงชวนบุษบากับนางกำนัลไปทำพิธีเสี่ยงเทียนยังวิหาร ใกล้ๆวิหารนั้นพวกอิเหนากำลังตั้งวงเตะตะกร้อ ครั้นพวกสาวใช้มะเดหวีขึ้นมาไล่ ก็พากันวิ่งหนีกระจายไป แต่อิเหนา สังคามาระตาและประสันตาวิ่งเข้าไปแอบอยู่หลังพระปฏิมาในวิหาร วิธีเสี่ยงทายนั้น ใช้เทียนสามเล่ม เล่มหนึ่งเป็นบุษบา ปักตรงหน้านาง อีกเล่มเป็นอิเหนาปักข้างขวา และข้างซ้ายเป็นจรกา แล้วมะเดหวีสอนให้บุษบากล่าวอธิษฐานว่า “…แม้น…จะได้ข้างไหนแน่ ให้ประจักษ์แท้จงหนักหนา แม้นจะได้ข้างระตูจรกา ให้เทียนพี่ยานั้นดับไป…” บุษบาแม้จะอายใจเต็มทีก็จำต้องทำตามมะเดหวี แล้วก็มีเสียงจากปฏิมาว่า “…อันนางบุษบานงเยาว์ จะได้แก่อิเหนาเป็นแม่นมั่น จรกาใช่วงศ์เทวัญ แม้นได้ครองกันจะอันตราย” มะเดหวีได้ยินดังนั้น ก็ตื่นเต้นดี พระทัย แต่ไม่ช้าเรื่องก็แตก เพราะอิเหนาต้อนค้างคาวจนเทียนดับ แล้วใช้ความมืดเข้ามากอดบุษบา แล้วก็ไม่ยอมปล่อย จนพี่เลี้ยงไปเอาคบเพลิงมา ก็เห็นอิเหนากอดบุษบาไว้แน่น มะเดหวีจะกริ้วโกรธอย่างไร ก็เห็นว่าเสียทีอิเหนาเสียแล้ว จึงยอมสัญญาว่าจะหาทางให้อิเหนาได้กับบุษบา อิเหนาจึงยอมปล่อย ครั้นไม่เห็นทางได้บุษบาแต่โดยดี อิเหนาก็คิดอุบายที่ร้ายแรงที่สุด คือเผาโรงมโหรสพในพิธีแต่งงานของบุษบาและจรกาในเมืองดาหา แล้วลักนางไปไว้ ในถ้ำทอง ซึ่งเตรียมไว้ก่อนแล้ว

องค์ปะตาระกาหลากริ้วอิเหนามาก จึงบันดาลให้เกิดพายุใหญ่หอบรถนางบุษบาและพี่เลี้ยงไปตกที่ชายเมืองประมอตัน

แล้วแปลงกายนางบุษบาให้เป็นชายชื่อว่า อุณากรรณ ประทานกริชวิเศษให้ และบอกให้เดินทางเข้าสู่เมืองประมอตัน ต่อจากนี้ก็ถึงบทมะงุมมะงาหรา (ท่องเที่ยวหา) อิเหนาเป็นฝ่ายตามหา บุษบาเป็นฝ่ายหนีเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ปราบเมืองนั้นๆ ไว้ในอำนาจ มีเหตุการณ์สนุกตื่นเต้นสลับซับซ้อน เช่น ธิดาเจ้าเมืองต่างๆ เข้าใจว่าอุณากรรณเป็นผู้ชายก็หลงรัก ตอนมะงุมมะงา หราเป็นเรื่องราวสักครึ่งหนึ่งของเรื่องทั้งหมด

เมื่อสิ้นเวรสิ้นกรรมแล้ว กษัตริย์วงศ์เทวาทั้งหมดก็ได้พบกัน อิเหนาได้ปรับความเข้าใจกับนางจินตะหราและได้ครองเมืองกุเรปันอย่างมีความสุขสืบ ไป

เพลงบุษบาเสี่ยงเทียน

” เทียนจุดเวียนพระพุทธา ตัวข้า บุษบาขออธิษฐาน

…เทียนที่เวียนนมัสการ บันดาลให้ หทัยสมปรารถนา

ดลจิตอิเหนา ให้เขามารักข้า ขอองค์พระปฏิมา เมตตาช่วยคิดอุ้มชู

ขอเทียนที่เวียนวน ดลฤทัยสิงสู่ ให้องค์ระเด่นเอ็นดู อย่าได้รู้คลายคลอน

…อ้า องค์พระพุท-ธา ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน

…ข้าสวดมนต์ขอพระพรวิงวอนให้ หทัยระเด่นปรานี

รักอย่าเคลือบแฝง ดังแสงเทียนริบหรี่ ขอองค์ระเด่นมนตรี โปรดมีจิตนึกเมตตา

ขอเทียนที่เสี่ยงทาย ดลให้คนรักข้ารักเพียงแต่บุษบา ดั่งข้านี้ ตั้งใจ

อ้า องค์พระพุทธา ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน

ข้าสวดมนต์ ขอพระพร วิงวอนให้ หทัยระเด่นปรานี

รัก อย่าเคลือบแฝง ดังแสงเทียนริบหรี่ ขอองค์ระเด่นมนตรี โปรดมีจิตนึกเมตตา

ขอเทียนที่เสี่ยงทาย ดลให้คนรักข้า รักเพียงแต่บุษบา ดั่งข้านี้ตั้งใจ..”